ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
งานประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งประเทศไทย ปี 2567 “Moving forward in Asthma & COPD management”
ชื่อการประชุม งานประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งประเทศไทย ปี 2567 “Moving forward in Asthma & COPD management”
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-2-000-003-01-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์กรุงเทพ สุขุมวิท 11
วันที่จัดการประชุม 24 -26 ม.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล ,เภสัชกรผู้สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 14 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคหืดเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกระบุว่าในปี 2562 มีผู้ป่วยโรคหอบหืดทั่วโลก 262 ล้านคน ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากกว่า 455,000 คน จากสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคร่วมของโรคหืดเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี และพบผู้ป่วยในประเทศไทยเสียชีวิตด้วยโรคหืดวันละประมาณ 8-9 คน หรือคิดเป็นอัตรา 3.42 ต่อประชากร 1 แสนคน โดยผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคหืดจะมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยเด็กถึง 5 เท่า นอกจากนี้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วย และอัตราตายของประชากรทั่วโลกเช่นกัน จากสถิติองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประมาณ 210 ล้านคน หรือร้อยละ 10 ของประชากรผู้ใหญ่ คาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2030 โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จะเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ของประชากรโลก คิดเป็นอัตราตายร้อยละ 4.8 และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 5 ประเทศไทยพบอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น 1.3 เท่าในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา โดยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 40 คนต่อประชากรแสนคน
ในปี พ.ศ. 2567 นี้ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) โดยกลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งประเทศไทย จึงจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Moving Forward in Asthma & COPD Management” ขึ้น เพื่อให้เภสัชกรผู้เข้ารับการอบรมได้เพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติงานผ่าน การทดลองใช้ยาพ่นชนิดต่างๆ และกรณีศึกษา จนสามารถนำไปพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคในระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น และสามารถเรียนรู้แนวทางช่วยผู้ป่วยเลิกบุหรี่ได้
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เภสัชกรผู้เข้าประชุม
1.ได้รับทราบแนวทางการรักษาโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และแนวทางการเลิกบุหรี่ ในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มตั้งแต่ปฐมภูมิ ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน จนถึงระยะประคับประคอง และการจัดการโรคร่วมอื่นๆ ที่มักพบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
2.ได้เรียนรู้วิธีการให้การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง จมูกอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยที่ต้องการเลิกบุหรี่ ทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติโดยการเรียนจากกรณีศึกษาจริง
3.ได้เรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์ยาพ่นชนิดต่างๆ และฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้สามารถสอนผู้ป่วยได้
4.ได้เรียนรู้แนวทางการดำเนินงาน Telepharmacy และแอพพลิเคชั่นที่ใช้ เพื่อให้การบริบาลทางเภสัชกรรมกับผู้ป่วยที่ไม่ประสงค์เดินทางมาที่โรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยประคับประคอง ผู้ป่วยที่ต้องติดตามการเลิกบุหรี่ เป็นต้น
คำสำคัญ
TPAC, Asthma & COPD management, โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
วิธีสมัครการประชุม
www.thaihp.org