การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและการป้องกันโรคในเวชศาสตร์การเดินทาง ครั้งที่ 9 "Current Practice and Future Opportunities"
ชื่อการประชุม |
 |
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและการป้องกันโรคในเวชศาสตร์การเดินทาง ครั้งที่ 9 "Current Practice and Future Opportunities" |
สถาบันหลัก |
 |
สถานเสาวภา สภากาชาดไทย |
รหัสกิจกรรม |
 |
5003-2-000-001-08-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯ |
วันที่จัดการประชุม |
 |
23 -25 ส.ค. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สถานเสาวภา สภากาชาดไทย |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 200 ท่าน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
16.25 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การเดินทางอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพของผู้เดินทาง เกิดความเสี่ยงของอุบัติเหตุ ความเจ็บป่วย การติดเชื้อ หรือการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ และทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขระหว่างประเทศได้ โดยเฉพาะหลังการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ซึ่งมีผู้เดินทางระหว่างประเทศเพื่อการท่องเที่ยว ทำงาน ศึกษาต่อ มีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการให้ความรู้ การป้องกัน และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงเป็นกุญแจสำคัญในเวชศาสตร์การเดินทาง (Travel Medicine)
การให้คำนแนะนำเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งวัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุก็มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากแม้ว่าวัยรุ่นและวัยทำงานจะถือว่าเป็นวัยที่มีร่างการยแข็งแรง แต่ในขณะเดียวกันช่วงอายุดังกล่าวก็เป็นวัยที่มักมีโอกาสได้รับเชื้อโรคชนิดต่างๆ ได้จากกิจกรรมที่มีความหลากหลายมากกว่าวัยเด็ก สำหรับวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีโรคประจำตัวมากขึ้น มีการติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรง ซึ่งหากได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอย่างเหมาะสมตามช่วงอายุ จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ลดโอกาสเจ็บป่วย ลดโอกาสการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ วัคซีนงูสวัดชนิดเชื้อตาย เป็นต้น
ทั้งนี้เพื่อให้ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน และเวชศาสตร์การเดินทาง สถานเสาวภา สภากาชาดไทย จึงได้จัดการประชุมวิชาการ Adult and Travel Immunization ขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 9 เพื่อเผยแพร่ความรู้ในศาสตร์ดังกล่าว โดยมีแพทย์ พยาบาล เภสัชกรและบุคลาการทางการแพทย์ให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุมเป็นจำนวนมาก อันเป็นโอกาสเผยแพร่แก่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับริการทางการแพทย์ต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และเวชศาสตร์การเดินทาง ในช่วงหลังการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำความรู้และทักษะที่ได้รับ ไปใช้ในการปฏิบัติงานและดูแลรักษาประชาชนได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
เวชศาสตร์การเดินทาง, การสร้างเสริมภูมิคุัมกันโรค
วิธีสมัครการประชุม
วิธีการลงทะเบียน
1.ลงทะเบียน online https://webcast.live14.com/saovabha/
2.กรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนในแผ่นพับพร้อมแนบหลักฐานการโอนเงินแล้วส่งมาทาง E-mail :qsmimeeting@gmail.com
การลงทะเบียน
1.สำหรับลงทะเบียนเพื่อร่วมประชุมในงาน (on-site conference) อัตราท่านละ 4,000 บาท
รวมอาหารกลางวัน 2 มื้อ อาหารว่าง 5 มื้อ กระเป๋างานประชุม ใบประกาศนียบัตร และสามารถเข้าชมเนื้อหาการประชุมย้อนหลังผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกหัวข้อ จนถึง วันที่ 30 กันยายน 2566
2.สำหรับลงทะเบียนเพื่อร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (online conference) อัตราท่านละ 1,000 บาท
จะได้รับประกาศนียบัตร และสามารถเข้าชมเนื้อหาการประชุมย้อนหลังผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกหัวข้อ จนถึง วันที่ 30 กันยายน 2566
วิธีการชำระเงิน โอนเข้าบัญชี
ชื่อบัญชี: สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาสภากาชาดไทย เลขบัญชี 413-101978-0