การประชุมวิชาการ
การให้บริการทางแพทย์แม่นยำโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์, เภสัชพันธุศาสตร์ และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ชื่อการประชุม การให้บริการทางแพทย์แม่นยำโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์, เภสัชพันธุศาสตร์ และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-2-000-011-06-2566
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (ห้องประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และห้องประชุมออนไลน์ผ่านระบบ zoom)
วันที่จัดการประชุม 12 -14 ก.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 17 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันด้วยความรู้ทางการแพทย์ด้านพันธุศาสตร์ (Genomics; จีโนมิกส์) และชีววิทยาระดับโมเลกุลมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก ร่วมกับเทคโนโลยีการถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงมีประสิทธิภาพดีขึ้นและต้นทุนต่ำลง นำไปสู่การนำเอาความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์อย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดเป็นการแพทย์แนวใหม่ที่เรียกว่า การแพทย์แม่นยำ (Precision medicine) มาใช้ปรับกระบวนการ ป้องกัน วินิจฉัย และการรักษาที่ตรงจุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายบุคคล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย งานด้านจีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำได้ขยายครอบคลุมด้านเภสัชพันธุศาสตร์ (pharmacogenetics หรือ pharmacogenomics) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาอิทธิพลของลักษณะทางพันธุกรรมต่อการตอบสนองของยา และเป็นศาสตร์ที่มีบทบาทมากขึ้นในการเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ใช้ยาได้อย่างปลอดภัย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในแง่ของการคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเหมาะต่อยา หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในการดูแลผู้ป่วยตามแผนการรักษา มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์ สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปบูรณาการในงานบริบาลผู้ป่วยให้เกิดการใช้ยาอย่างปลอดภัย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการต่อยอดความรู้เกี่ยวกับศาสตร์แขนงนี้ในอนาคตต่อไป ทางคณะเภสัชศาสตร์ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้จัดอบรมระยะสั้นเรื่อง การให้บริการทางแพทย์แม่นยำโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์, เภสัชพันธุศาสตร์ และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการขึ้นมา มีกำหนดการ ๓ วัน ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ในรูปแบบการประชุมวิชาการผสมผสาน ทั้งการประชุมแบบ on-site และ online เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์กับบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึง เป็นการต่อยอดวงจรบริการการแพทย์จีโนมิกส์ไทยแลนด์ ในวงจรที่เกี่ยวกับศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่ วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๕ เพื่อสร้างฐานข้อมูล รหัสพันธุกรรม DNA ของคนไทย สำหรับแลกเปลี่ยนและต่อยอดความก้าวหน้าทางการแพทย์ของประเทศไทย นำไปสู่การพัฒนาด้านการสาธารณสุขของประเทศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ทำให้มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และสามารถปฏิบัติงานได้ในวงจรบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ไทยแลนด์เพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์
ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้พื้นฐานทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์ไปบูรณาการในงานด้านบริบาลผู้ป่วยเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างปลอดภัย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำสำคัญ