การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรม ครั้งที่ 23 ประจำปีงบประมาณ 2559 เรื่อง การประเมินผลเพื่อการพัฒนาทางเภสัชกรรม (Developmental Evaluation in Pharmacy Practice)
ชื่อการประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรม ครั้งที่ 23 ประจำปีงบประมาณ 2559 เรื่อง การประเมินผลเพื่อการพัฒนาทางเภสัชกรรม (Developmental Evaluation in Pharmacy Practice)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-025-08-2559
สถานที่จัดการประชุม ณ สามพราน ริเวอร์ไซด์ จังหวัดนครปฐม
วันที่จัดการประชุม 01 -03 ส.ค. 2559
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย - เภสัชกรโรงพยาบาล/ผู้เกี่ยวข้อง/ผู้สนใจ และคณาจารย์เภสัชศาสตร์ จำนวน 150 คน - คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ จำนวน 10 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 24.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ระบบสุขภาพ คือ ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มีขอบเขตและความหมายที่กว้าง
มีเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่กระทบมากมาย ทั้งปัจจัยด้านบุคคล สิ่งแวดล้อม สังคม รวมถึงระบบบริการสุขภาพ
ทำให้ในยุคปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงความหมายของคำว่า “สุขภาพ” จึงมีกระบวนทัศน์ที่มีความหมายกว้างและ
ครอบคลุมถึงสุขภาพในหลายมิติ ทั้งร่างกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ไม่ใช่เพียงการปราศจากโรคและ
การเจ็บป่วยเท่านั้น
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของ
โครงสร้างประชากรที่สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก
และวัยทำงานกลับมีจำนวนลดลง ความไม่สมดุลของโครงสร้างประชากรนี้ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ
โดยรวม โดยเฉพาะปัญหาค่าใช้จ่ายทางสุขภาพที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากปัญหาโรคไม่ติดต่อ
เรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีแนวโน้มที่จะมีโรคภัย
ไข้เจ็บมากกว่าหนึ่งชนิด ส่งผลให้ต้องรับประทานยาจำนวนมาก นำไปสู่ความเสี่ยงด้านยา เช่น การเกิดอาการ
2
ไม่พึงประสงค์จากยา ปัญหาในการรับประทานยา รวมถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการตีกันของยาบางชนิด
เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยและการดำเนินไปของโรคในอนาคต นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
ภาวะโลกร้อน การใช้สารเคมีมากขึ้น ภัยธรรมชาติที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
วิถีชีวิตที่รีบเร่ง พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรค เช่น การบริโภคบุหรี่ พฤติกรรมบริโภคนิยม ช่องว่างทางสังคมที่มาก
ขึ้น ระบาดวิทยาการเกิดโรค เช่น โรคอุบัติใหม่ ความก้าวหน้าในเชิงธุรกิจ เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจยา
ข้ามชาติ มีการสื่อสารและคมนาคมที่รวดเร็ว การเปิดพรมแดน มีการเคลื่อนย้ายประชากรอย่างอิสระ อาจทำ
ให้เกิดการแพร่กระจายของโรคระบาดได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นระหว่างประเทศ รวมถึงปัจจัยเชิงนโยบาย
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรทางสุขภาพ และการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติยาฉบับใหม่ สิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และสถานะสุขภาพของคนไทย
ทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพและปัจจัยกำหนดสุขภาวะ มีความซับซ้อนกว่าในอดีตมาก
ความสลับซับซ้อนของระบบสุขภาพ ทำให้ปัจจัยที่มีผลต่อระบบสุขภาพมีหลายมิติ อาทิ ความเกี่ยว
โยงกันของปัจจัยทางระบาดวิทยา ปัจจัยเชิงปัจเจกบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และ
สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความเชื่อและทัศนคติ ปัจจัยทั้งหมดนี้ส่งผลให้กระบวนทัศน์
ความคิดแบบเดิม ที่มองปัญหาแบบเหตุเดี่ยวผลเดี่ยว จัดการแบบกลไก แยกส่วน และลดทอน จำเป็นต้อง
เปลี่ยนมาเป็นการคิดเชิงระบบในแบบบูรณาการหรือองค์รวม การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสุขภาพที่
เกิดขึ้นนี้ต้องอาศัยฐานความคิดเรื่องธรรมชาติของความซับซ้อน เพื่อให้เห็นแนวทางของการวิเคราะห์และ
เข้าใจการเกิดวิกฤติการณ์อย่างเป็นรูปธรรม ปรับเปลี่ยนการจัดการตนเอง และสรรพสิ่งให้ถูกต้อง เหมาะสม
มีสมดุล จนกระทั่งสามารถสร้างแผนงาน โครงการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ แก้ปัญหาได้จริง และส่งผลดีต่อ
ผู้ป่วย ชุมชน และสังคม และระบบสุขภาพโดยรวมของประเทศ
การมองปัญหาในระบบสุขภาพไม่รอบด้านนั้น จะส่งผลให้ทิศทางการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างไม่ตรง
จุด แต่การปรับกระบวนทัศน์ความคิดให้มองปัญหาอย่างรอบด้านและลึกซึ้ง จะนำไปสู่แนวคิดในการปรับ
กระบวนการทำงานปัจจุบัน ปรับลักษณะโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และปรับวิธีในการจัดการกับปัญหาที่
ลงลึกไปถึงการจัดการกับจุดคาดงัดของปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น การจัดการปัญหาโรคความดันโลหิตสูง การให้
ความรู้ผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว อาจไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลเสมอไป หากต้นตอของปัญหานั้นอยู่ลึกเกินกว่าที่
เราจะมองเห็น และเมื่อต้องการจัดโครงการเรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เราอาจนึกถึง
การให้ความรู้เกี่ยวกับปริมาณโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน วิธีการปรุงอาหารที่ถูกต้อง และการ
รับประทานยาอย่างสมํ่าเสมอ ซึ่งผลของโครงการมักได้รับผลดีในระยะสั้น เกิดประโยชน์เฉพาะผู้ที่ยังขาด
ความรู้ในประเด็นนี้ แต่ในระยะยาวโครงการอาจไม่ได้ผล เนื่องจากละเลยสาเหตุอื่นที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถ
ควบคุมอาหารได้ เช่น ปัจจัยส่วนบุคคล สภาพครอบครัว วิถีชีวิตที่รีบเร่ง การใช้ชีวิตในชุมชนเมือง พฤติกรรม
บริโภคนิยม อาหารสุขภาพมีทางเลือกน้อยและมีราคาแพง เป็นต้น
เภสัชกรเป็นวิชาชีพหนึ่งในทีมบุคลาการทางสุขภาพ มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งมิได้
จำกัดเพียงแค่บทบาทการจ่ายยาและให้คำปรึกษาเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการค้นหา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา
ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และ
3
สาธารณสุขอื่นๆ เภสัชกรยังเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยและชุมชน เนื่องจากเป็นด่านแรกที่ผู้ป่วย
จะเข้าถึงได้ผ่านการมารับบริการท่รี ้านขายยา และโรงพยาบาล ทั้งยังเป็นกำลังสำคัญของระบบสุขภาพในการ
จัดการ แก้ไข และป้องกันปัญหาทางสุขภาพของประชาชน ดังนั้นการพัฒนาเภสัชกรให้มีฐานความคิด
ความเข้าใจ ผู้ป่วย ชุมชน และสังคมในความสลับซับซ้อนของเหตุปัจจัยและระบบสุขภาพ จึงมีส่วนช่วยเสริม
ประสิทธิภาพงานเภสัชกรรม และเสริมสร้างระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และพึ่งพิงตนเองได้ อันจะทำให้
เกิดผลดีต่อประเทศชาติในอนาคต
นอกจากการส่งเสริมให้เภสัชกรพัฒนาโครงการการให้บริการด้านเภสัชกรรมหรือการดูแลส่งเสริม
สุขภาพบนฐานแนวคิดเรื่องความสลับซับซ้อนของเหตุปัจจัยและระบบสุขภาพแล้ว การประเมินผลการ
ดำเนินงานก็เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่มีความสำคัญในการสะท้อนสถานการณ์ความสำเร็จหรือความล้มเหลว
และพลวัตของปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในโครงการต่างๆ ทั้งยังเป็นเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในวงจรคุณภาพ
เพื่อเป็นข้อมูลกลับมายังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำไปใช้พัฒนาการดำเนินงาน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่
และมองหาโอกาสในการพัฒนางานในครั้งต่อไป
กระบวนการประเมินผลควรเป็นกลไกส่งเสริมให้มีการพัฒนางานและคนทำงาน การประเมินผลที่ดี
ควรจะมุ่งสนใจกระบวนการทำงานมากกว่าผลผลิตหรือผลลัพธ์ ค้นหาช่องว่างการพัฒนาและค้นหาแนวทาง
ปฏิบัติที่ดี มุ่งสนใจการรับฟังสุข ทุกข์ เรื่องราวความสำเร็จ มากกว่าตัดสิน วัดค่า ชี้ถูกชี้ผิด และต้องมี
กระบวนการติดตามประเมินผลที่เป็นกลไกภายในของทุกระดับบนฐานการมีส่วนร่วม มีการการเรียนรู้และ
เกิดการพัฒนาของทุกฝ่ายทั้งทีมประเมินและคนทำงาน รวมถึงการใช้ความแตกต่างหลากหลายเป็นจุดแข็ง
กำหนดให้การประเมินเป็นศิลปะขั้นสูงสุดสู่สามัญ คือ “การเปลี่ยนความธรรมดา ความคุ้นเคย เป็นข้อมูล
ข้อมูลเป็นความรู้ จากความรู้ไปสู่การแก้ปัญหาและความทุกข์”
นอกจากนี้กระบวนการประเมินผลควรเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานและคนทำงาน มากกว่าการวัด
ปริมาณของสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการดำเนินงาน มากกว่าการแสดงความสัมพันธ์ของผลลัพธ์สุดท้ายกับ
กิจกรรม มากกว่าการตัดสินถูกผิดผ่านตก การสนใจเพียงผลลัพธ์เชิงปริมาณ การตัดสินโทษ หรือถูกผิด
กำลังเป็นวิกฤติของการประเมินผลกระแสหลัก การประเมินควรเป็นกระบวนการทบทวนตรวจสอบตำแหน่ง
แห่งที่ของผลงานในปัจจุบัน แล้วสะท้อนย้อนคิดถึงเป้าหมายที่แท้จริงของงานทั้งนี้เพื่อกำหนดแนวทางการ
ดำเนินงานต่อในอนาคต การได้มาซึ่งข้อมูลที่แท้จริงจากการประเมินเป็นความจำเป็นพื้นฐานในการกำหนด
ทิศทางการพัฒนางานที่ถูกต้อง ความสามารถในการคลี่ความซับซ้อนของเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเข้าใจความเชื่อมโยงจนมองเห็นช่องว่างในการพัฒนา การมีส่วนร่วมในการมองต่างมุม ตั้งคำถามเพื่อ
ชวนคิด ทั้งจากเรื่องราวของความสำเร็จและบทเรียนของความล้มเหลว รวมถึงความสัมพันธ์ฉันมิตรตั้งแต่
เริ่มต้นจนตลอดเส้นทางการดำเนินงาน ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของการประเมินเพื่อการพัฒนา
(Developmental evaluation - DE) ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการดำเนินงานโครงการพัฒนาสุขภาพและ
งานบริการด้านเภสัชกรรมต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจถึงวิกฤติระบบสุขภาพ วิกฤติการพัฒนา และวิกฤติการ
ประเมินผลกระแสหลัก และสามารถมองวิกฤติของการพัฒนาผ่านแนวคิด ความซับซ้อน
(Complexity)
2. เพื่อให้เภสัชกรผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจการประเมินเพื่อการพัฒนา (Developmental Evaluation)
ในประเด็นของปรัชญา แนวคิด และกระบวนการ
3. เพื่อให้เภสัชกรผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจและสามารถนำเครื่องมือและทักษะในการประเมินมาใชเ้ พื่อ
การพัฒนาได้
4. เพื่อให้เภสัชกรสามารถนำความรู้ด้านการประเมินเพ่อื การพัฒนาไปต่อยอดในการพัฒนางาน
เภสัชกรรม และขยายบทบาทการบริการให้มีคุณภาพที่สูงขึ้นและตรงกับความต้องการของ
ผู้รับบริการได้
คำสำคัญ
ระบบสุขภาพ /ความซับซ้อน (Complexity) /โครงการพัฒนาสุขภาพ วิกฤติการพัฒนา/ วิกฤติการประเมินผลกระแสหลัก /การประเมินเพื่อการพัฒนา
วิธีสมัครการประชุม
สามารถติดต่อได้ที่หมายเลข 081-5404036