การประชุมวิชาการ
(Online) รู้ทันกฎหมาย พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act or PDPA) และการปรับตัวของงานวิชาชีพเภสัชกรรม (EP.1)
ชื่อการประชุม (Online) รู้ทันกฎหมาย พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act or PDPA) และการปรับตัวของงานวิชาชีพเภสัชกรรม (EP.1)
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-2-000-026-04-2564
สถานที่จัดการประชุม ถ่ายทอดสด
วันที่จัดการประชุม 30 เม.ย. 2564
ผู้จัดการประชุม เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิก เภสัชกร และบุคคลทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล :
เนื่องด้วย รัฐบาลประเทศไทยเห็นสมควรกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว มาตรา ๑ ได้กำหนดพระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒” ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ตามมาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติในหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๕ หมวด ๖ หมวด ๗ และความในมาตรา ๙๕ และมาตรา ๙๖ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป และจากการที่ผลของพระราชบัญญัติบังคับใช้ในวงกว้างหลายหน่วยงานทั้งทางรัฐและภาคเอกชนทุกหน่วยงานจะต้องปรับตัวและแก้ไขในขั้นตอน การดำเนินงานาการให้บริการ การนำไปใช้ของข้อมูลและการเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่จะต้องทำด้วยความรอบคอบ ถูกต้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลผู้ออกกฎหมาย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ICT) จึงประกาศเลื่อนการบังคับใช้ไปเป็นระยะเวลาอีกหนึ่งปี ซึ่งหมายถึงการบังคับใช้จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ นั่นเอง ดังนั้นเพื่อให้ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมด้านยาและแวดวงวิชาชีพเภสัชกรรม ได้เข้าใจในเนื้อหาสาระของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ และส่งผลกระทบและการเตรียมความพร้อมของเภสัชกรในวงกว้าง โดยหน่วยงาน เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (PAT) สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (RAPAT) สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (TIPA) สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน (TPMA) สมาคมเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (TSMIA) และมูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน จะทำการจัดประชุมวิชาการแบบออนไลน์ ในชื่อเรื่อง “รู้ทันกฎหมาย พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Personal Data Protect Act or PDPA) และการปรับตัวเตรียมความพร้อมของงานวิชาชีพเภสัชกรรม” เพื่อที่จะสร้างเสริมความรู้ และการเตรียมการของเภสัชกรและหน่วยงาน องค์กรด้านยา อุตสาหกรรม และวิชาชีพ ได้ปรับตัว และนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ไม่ทำผิดกฎหมาย ต่อ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
ทั้งนี้ ทางคณะผู้จัดงานการประชุมจะทำการจัดประชุมแบบเป็นแต่ละครั้ง หรือ EP ต่อเนื่อง เพื่อการให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย สาระสำคัญต่าง ๆ ชองกฎหมายที่ควรรู้ ของ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ และแชร์ประสบการณ์จากการเตรียมตัวและลงสู่ภาคปฏิบัติจริงของหน่วยงาน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและหรือตัวแทนจากภาคสมาคมของเครือข่ายเภสัชกรรม
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ :
๑) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เภสัชกร ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และเครือข่ายเภสัชกรรม ในเรื่องสาระสำคัญต่าง ๆ ชองกฎหมายที่ควรรู้ ของ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
๒) เพื่อให้การเตรียมการของเภสัชกรและหน่วยงาน องค์กรด้านยา อุตสาหกรรม และวิชาชีพ เกิดการปรับตัว และนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ไม่ทำผิดกฎหมาย ต่อ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
๓) เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และเห็นแนวทางปฏิบัติของเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญที่มาแชร์ประสบการณ์
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
www.pat.or.th