การประชุมวิชาการ
โครงการพัฒนาระบบบริการและเครือข่ายดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในเขตกรุงเทพมหานคร การอบรมพื้นฐานสำหรับเภสัชกร (Basic palliative care for pharmacists)
ชื่อการประชุม โครงการพัฒนาระบบบริการและเครือข่ายดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในเขตกรุงเทพมหานคร การอบรมพื้นฐานสำหรับเภสัชกร (Basic palliative care for pharmacists)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-022-03-2563
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 6 กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 09 มี.ค. 2563 - 30 เม.ย. 2563
ผู้จัดการประชุม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ด้านสุขภาพของประเทศไทยมีการพัฒนาไปอย่างก้าวไกล การเปลี่ยนแปลงของโรคที่เป็นปัญหาและเป็น สาเหตุการตายในทศวรรษนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับในหลายทศวรรษก่อน ปัจจุบันสาเหตุการป่วยร้อยละ 71 มีสาเหตุมาจาก โรคไม่ติดต่อ สาเหตุการตายเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีจำนวนผู้สูงอายุมากซ้น การตายอันดับต้นของประเทศไทยคือ โรคมะเร็ง โรคเอดส์ อุบัติเหตุ และโรคหัวใจ ในประเทศไทยจำนวนของผู้สูงอายุมีสัดส่วนสูงซ้นอย่างต่อเนื่องและคาดว่าภายใน 40 ปี ประชากรผู้สูงอายุจะเป็นหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจะเป็นปัญหาระดับใหญ่ที่เราต้องเผชิญ เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุ จะมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังสูงซ้น เช่นโรคเบาหวาน ความดันสูง โรคหัวใจ เป็นต้น การพัฒนาอย่างรวดเร็วทางการแพทย์ หมายถึงมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการรักษาหรือช่วยชีวิตผู้ป่วย โรคต่างๆในอดีตซึ่งไม่สามารถรักษาได้หรือ ผลการรักษาไม่ได้ผลดี ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีชีวิตยืนยาวขึ้นซึ่งหมายถึงการรักษาที่ ยาวนานยืดเยื้อ และเมื่อโรคเข้าสู่ระยะท้าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะทนทุกข์ทรมานจากการรักษาที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ ได้รับการ รักษาที่มุ่งยื้อชีวิตแม้อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมถึงการตัดสินใจเลือกทางเลือกของการรักษาต่างๆ ที่มัก กระทำโดยครอบครัวโดยผู้ป่วยไม่มีส่วนร่วม ซึ่งบางครั้งการรักษาดังกล่าวอาจไม่ใช่แนวทางที่ผู้ป่วยต้องการ
Palliative care หรือการรักษาแบบประคับประคอง เป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมานเมื่อโรคเข้าสู่ ระยะท้าย โดยจุดมุ่งหมายของ Palliative care คือการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ในผู้ป่วยที่โรครักษาไม่ได้หรืออยู่ในระยะ สุดท้าย โดยมีหลักการคือการยอมรับในเวลาที่เหลืออยู่ โดยไม่ไปยืดหรือเร่งเวลาที่เหลือ แต่ดูแลให้ผู้ป่วยมีสมรรถนะและ คุณภาพชีวิตดีที่สุดในเวลาที่เหลืออยู่ โดยการจัดการอาการที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอาการปวดและอาการไม่สุขสบายอื่นๆ การดูแลประคับประคองด้านจิตใจ สังคมและด้านจิตวิญญาณ นอกจากนี้ส่วนสำคัญในการดูแลแบบ Palliative care คือการ ช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับข้อมูลที่ตรงจริง รวมถึงทางเลือกต่างๆในการตัดสินใจ และช่วยกันวางแผนการรักษาล่วงหน้า ที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยมากที่สุด จากประสบการณ์การทำงานด้าน palliative care พบว่าผู้ป่วยเมื่อรับรู้สภาวะโรค ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์
มักมีการเตรียมตัวมักเลือกการรักษาที่ไม่รุกราน และต้องการทางเลือกที่สุขสบายไม่เจ็บปวด รวมถึงการมีโอกาสได้อยู่ใน สถานที่ที่คุ้นเคย ท่ามกลางครอบครัว และโรงพยาบาลมักเป็นสถานที่ที่ผู้ป่วยไม่ต้องการอยู่
การจัดบริการให้การดูแลแบบประคับประคองแก่ผู้ป่วยระยะท้ายแบบ Palliative care เริ่มมีการพัฒนามามากกว่า 50 ปีในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งพบว่าการดูแลตังกล่าวช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวดีขึ้นอย่างมาก รวมถึงช่วย ในการลดระยะเวลานอนในโรงพยาบาล ประหยัดงบประมาณของการบริการสาธารณสุขซึ่งเกิดจากการตรวจและรักษา ทางการแพทย์ที่ไม่ก่อประโยชน์แต่เพิ่มความทุกข์ทรมานและสร้างภาระที่หนักหน่วงให้กับครอบครัวผู้ป่วยและระบบสุขภาพ
จากการที่ประเทศไทยมีพัฒนาการด้าน Palliative care ล่าช้ามากเมื่อเทียบกับประเทศที่มีศักยภาพทางการแพทย์ เทียบเคียงกับเราเข่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลี จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาบริการด้านนี้อย่างก้าวกระโดด เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่คุกคามกับระบบสุขภาพของประเทศ องค์การอนามัยโลกกำหนดให้การดูแลผู้ป่วยแบบ palliative care ต้องบูรณาการอยูในระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ และต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ มีการกำหนดนโยบาย การ ฟิกอบรมบุคลากร การเข้าถึงยาระงับปวด opioids และการมีแผนดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการจัดระบบบริการที่เอื้อ ต่อการดูแลผู้ป่วยในระยะท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและให้สามารถตายดี ในส่วนของการบริการสาธารณสุขมีความจำเป็นที่ต้อง มีการสร้างระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและ cost effective โดยการจัดการความรู้ การพัฒนาศักยภาพของผู้ ให้บริการผู้ป่วยระยะท้ายเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด และเป็นความจำเป็นที่ต้องทำอย่างรีบด่วน ทั้งนี้การเชื่อมโยง เครือข่ายก็เป็นหัวใจที่สำคัญในการทำงาน ศูนย์ดูแลประคับประคองในโรงพยาบาลซึ่งมักมีผู้ป่วยจำนวนมากและซับช้อน ต้อง มีบุคลากรที่ผ่านการอบรมระยะยาว/กลาง ทำหน้าที่วินิจฉัย จัดการอาการ ให้ข้อมูลโรค วางแผนจำหน่ายส่งต่อชุมชนและเป็น ที่ปรึกษาแก่เครือข่ายในชุมชน ส่วนทีมดูแลประคับประคองในชุมชนซึ่งได้แก่ศูนย์บริการสาธารณสุขต้องมีทีมดูแล ประคับประคองที่สามารถเป็นพี่เลี้ยงแก่ทีมเยี่ยมบ้าน มียาระงับปวด opioids และอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ที่บ้าน
ระบบบริการด้าน palliative care ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นเขตที่มีการจัดบริการล่าช้าที่สุดเมื่อเทียบกับเขตอื่นๆ โดยเฉพาะในภาคอีสานซึ่งมีเครือข่ายการดูแลแบบประคับประคองที่แข็งแรง ช่วยให้ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลและเสียชีวิต ที่บ้านได้ ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างของบริบทความเป็นอยู่ การจัดบริการซึ่งมีความแตกต่างในระดับภาค แต่การขาดองค์ ความรู้ ขาดการเช้าถึงยาระงับปวด ทำให้ให้ขาดบริการที่มีคุณภาพ และมักเป็นบริการที่ครอบคลุมจิตสังคมและจิตวิญญาณ แต่ขาดองค์ประกอบเรื่องของการจัดการอาการ เนื่องมาจากแพทย์และพยาบาลขาดความชำนาญและการไม่สามารถเช้าถึง ยากลุ่ม opioids ในระดับชุมชน การจัดระบบบริการทางสุขภาพสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายในเขตกรุงเทพมหานครที่มีคุณภาพที่ เหมาะสมและคุ้มค่า เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน ประเทศไทยมีระบบการบริการสุขภาพแบบปฐมภูมิที่แข็งแรงและทั่วถึง ดังนั้นระบบบริการที่เหมาะสมควรเป็นระบบการเยี่ยมบ้านโดยใช้การบริการระดับปฐมภูมิมาเป็นตัวรองรับ แต่จำเป็นต้องมี การศึกษาทดลองระบบ สร้างการเชื่อมต่อของบริการระดับต่างๆ พร้อมกันนี้ควรใช้ระบบและทุนทางสังคมในชุมชนเช้ามามี ส่วนร่วม
การดูแลประคับประคองแบบ Palliative care มิความสำคัญอย่างยิ่งยวด ซึ่งกรุงเทพมหานครต้องเริ่มการพัฒนาอย่าง ก้าวกระโดดเพื่อผลักดันให้มีการพัฒนาระบบการดูแลที่ประชาชนสามารถเช้าถึงได้ให้มีบริการนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สามารถ เชื่อมโยงการดูแลในทุกระดับเพื่อให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่องจนถึงบ้านผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัวมี คุณภาพชีวิตที่ดี มีการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ซึ่งจะมีผลต่อการใช้ทรัพยากรด้านสุขภาพของประเทศอย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์
จัดระบบบริการด้านการดูแลประคับประคองและสร้างเครือข่ายที่ในเขตกทม.ที่สามารถเชื่อมต่อการดูแลได้ทุกระดับจนถึงในชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยระยะท้ายสามารถเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองที่มีคุณภาพและ ต่อเนื่องที่บ้านโดยมีทีมสุขภาพและเครือข่ายชุมชนให้การดูแล
คำสำคัญ
Palliative care, การรักษาแบบประคับประคอง