บทความวิชาการ
การวัดค่าอรรถประโยชน์ (Utility measurement)
ชื่อบทความ การวัดค่าอรรถประโยชน์ (Utility measurement)
ผู้เขียนบทความ ภก.อ.ดร.กฤตภาส กังวานรัตนกุล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-1-000-001-07-2562
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 05 ก.ค. 2562
วันที่หมดอายุ 04 ก.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ค่าอรรถประโยชน์ (Utility) เป็นค่าที่นำมาใช้ในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ซึ่งจะมีการรายงานเป็นค่าดัชนี (Index score) ซึ่งมีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง 1 โดยที่ 0 หมายถึงสถานะทางสุขภาพแย่จนเสมือนเสียชีวิต ในขณะที่ 1 หมายถึงสถานะทางสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งค่าอรรถประโยชน์ดังกล่าวนี้สามารถนำไปคำนวณหาค่าปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น Quality adjusted life year (QALYs) gained เพื่อใช้เป็นผลลัพธ์ในการคำนวณต้นทุน-อรรถประโยชน์ (Cost Utility Analysis: CUA) ในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อไป โดยการวัดค่าอรรถประโยชน์จะมีวิธีการวัดแบบสองประเภทหลักๆคือ 1) การวัดทางตรง (Direct methods) เช่น การวัดโดยใช้ VAS (Visual Analogue Scale), SG (Standard Gamble) และ TTO (Time-trade off) 2) การวัดทางอ้อม (Indirect methods) คือการใช้แบบสอบถามวัดระดับคุณภาพชีวิตเพื่อคำนวณค่าอรรถประโยชน์ ในประเทศไทยวิธีที่นิยมใช้มากที่สุดคือการใช้แบบสอบถามในการวัดค่าอรรถประโยชน์ ซึ่งแบบสอบถามที่นิยมใช้คือ EQ-5D เนื่องจากแบบสอบถามสั้นและมีความง่ายทำให้เกิดความรวดเร็วในการตอบแบบสอบถาม
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ, อรรถประโยชน์