บทความวิชาการ
เภสัชบำบัดในโรคระบบทางเดินอาหารส่วนต้น: chronic peptic ulcer (gastric ulcer, แผลเปื่อยกระเพาะอาหาร หรือ duodenal ulcer, แผลเปื่อยลำไส้เล็กส่วนต้น) และ gastro-esophageal reflux disease (GERD, หลอดอาหาร
ชื่อบทความ เภสัชบำบัดในโรคระบบทางเดินอาหารส่วนต้น: chronic peptic ulcer (gastric ulcer, แผลเปื่อยกระเพาะอาหาร หรือ duodenal ulcer, แผลเปื่อยลำไส้เล็กส่วนต้น) และ gastro-esophageal reflux disease (GERD, หลอดอาหาร
ผู้เขียนบทความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริมา มหัทธนาดุลย์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-1-000-003-12-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 14 ธ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 13 ธ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
อวัยวะในระบบท่อทางเดินอาหารส่วนต้นมีบทบาทหลักในการคัดหลั่งน้ำเมือกสำหรับหล่อลื่นและเคลือบผิวบริเวณเยื่อเมือกท่อทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อป้องกันการถูกครูดโดยอาหารแข็งหรือถูกทำลายโดยน้ำย่อยและกรด การคัดหลั่งกรดและเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารในกระเพาะอาหารโดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีน และบทบาทในการเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่อาหารจากหลอดอาหารไปจนถึงลำไส้ใหญ่และการเคลื่อนไหวเพื่อบดผสมและคลุกเคล้าอาหารให้ผสมกับน้ำย่อยได้ดีขึ้น จะเห็นได้ว่า กรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเป็นต้นเหตุสำคัญในการชักนำให้เกิดพยาธิสภาพของท่อทางเดินอาหารส่วนต้น การเกิดความไม่สมดุลของปริมาณกรดที่มีการหลั่งออกมามากกว่าปกติหรือการมีแรงต้านของชั้นเยื่อเมือกต่อการทำลายลดลงจะมีผลทำให้เกิดโรค gastric ulcer (GU, แผลเปื่อยกระเพาะอาหาร) หรือโรค duodenal ulcer (DU, แผลเปื่อยลำไส้เล็กส่วนต้น) ในบริเวณที่อยู่ติดกับกระเพาะอาหารส่วนปลาย pylorus ได้ และในกรณีที่มีพยาธิสภาพที่ทำให้มีอัตราการหลั่งกรดสูงกว่าปกติมากก็จะส่งผลให้เกิดแผลเปื่อยที่รุนแรงทั้งในบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้ นอกจากนี้ในกรณีที่มีความบกพร่องในการควบคุมการเคลื่อนไหวของท่อทางเดินอาหารที่ทำให้มีกรดและน้ำย่อยจากในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร ก็จะส่งผลให้เกิดโรค gastro-esophageal reflux disease (GERD, หลอดอาหารอักเสบเนื่องจากการไหลกลับของกรดจากกระเพาะอาหาร) ได้ หรือในกรณีที่มีน้ำดีจากบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นไหลย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารร่วมก็จะส่งผลให้เพิ่มความรุนแรงของอาการโรค GU หรือ GERD รุนแรงมากขึ้นได้ ซึ่งกลุ่มยาสำหรับควบคุมภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหารและกลุ่มยาที่เพิ่มการเคลื่อนไหวบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นกลุ่มยาหลักในการใช้บำบัดภาวะความผิดปกติเหล่านี้ โดยจะใช้ในรูปแบบของยาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกันขึ้นกับพยาธิกำเนิดหลักในการเกิดโรคของแต่ละโรค ผู้ป่วยโรค GU หรือ DU ที่ให้ผลบวกต่อการทดสอบการติดเชื้อ Helicobacter pylori ต้องให้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์กำจัดเชื้อดังกล่าวร่วมในแผนการรักษาโดยพิจารณาเลือกยาปฏิชีวนะตามประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ต่อเชื้อ ความปลอดภัยในการใช้ยา การดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อ ราคา และการยอมรับการใช้ยาของผู้ป่วย การให้ความรู้ความเข้าใจในการให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยน lifestyle ในการบริโภคอาหารและการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง รวมทั้งการหลีกเลี่ยงในการใช้ยาที่มีความเสี่ยงในการชักนำให้เกิดโรคหรือใช้อย่างถูกวิธีในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมการรักษาโดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการของโรคไม่รุนแรงโดยอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาก่อน นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคได้
คำสำคัญ
Chronic peptic ulcer, Gastro-esophageal reflux disease, Antacids, Ulcer healing drugs, Prokinetic dr
วิธีสมัครสมาชิก
ขณะนี้ทางหน่วยงานเปิดให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและเริ่มทำแบบทดสอบได้โดยไม่จำกัดสิทธิ์แก่สมาชิก และในปีใหม่นี้ เตรียมพบกับ web site ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในรูปแบบใหม่ได้ที่ http://cpe.pharmacy.psu.ac.th/ เพียงแค่สมัครสมาชิกกับทางเรา ท่านสามารถอ่านและทำแบบทดสอบบทความทางวิชาการ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารงานประชุมของทางหน่วยงานได้เลย (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น) เปิดรับสมาชิกใหม่ในเร็วๆ นี้ โปรดติดตามข่าวสารได้จากทางหน้า web site ดังกล่าวนะคะ