บทความวิชาการ
จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ
ชื่อบทความ จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภญ.อรัญญา จุติวิบูลย์สุข
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รหัสกิจกรรม 1013-1-000-004-09-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 27 ก.ย. 2560
วันที่หมดอายุ 26 ก.ย. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (age-related macular degeneration, AMD) เป็นปัญหาที่พบในผู้สูงอายุและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน มองภาพบิดเบี้ยวไปจากที่เคย สูญเสียการมองเห็นของภาพระยะใกล้หรือระยะไกล ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง (dry AMD) และจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (wet AMD) สาเหตุที่ทำให้เกิดการเสื่อมของจอประสาทตา ได้แก่ อายุ แสง ภาวะเครียดจากออกซิเดชัน การสะสมลิโปฟิวซิน การไหลเวียนเลือดที่เนื้อเยื่อคอรอยด์ลดลง การงอกผิดปกติของหลอดเลือดที่บริเวณใต้จอประสาทตา และการอักเสบของลูกตา การรักษาในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการรักษาจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก โดยการฉายแสงเลเซอร์ลงบนจอประสาทตาส่วนที่มีพยาธิสภาพเพื่อยับยั้งหรือชะลอโรค จะช่วยคงสภาพการมองเห็นไว้ได้ แต่ไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่เสียไปกลับคืนมา หรือการใช้ยากลุ่ม vascular endothelial growth factor inhibitors เพื่อไปยับยั้งการงอกผิดปกติของหลอดเลือดใต้จอประสาทตา มีรายงานว่ายากลุ่มนี้ช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย แต่ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ต้องได้รับยาเป็นประจำทุกเดือนต่อเนื่องนานอย่างน้อย 1 ปี และข้อมูลด้านความปลอดภัยยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากการฉีดยากลุ่มนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้ ลูทีนและซีแซนธินเป็นรงควัตถุที่พบในจอประสาทตาโดยพบสะสมมากสุดบริเวณโฟเวีย มีคุณสมบัติในการกรองแสงสีฟ้าช่วยลดอันตรายที่เกิดจากแสง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน ลดการสะสมสารลิโปฟิวซินและลดการเสื่อมของเซลประสาทที่จอตา จึงมีความเป็นไปได้ว่าลูทีนและซีแซนธินสามารถป้องกันหรือชะลอการดำเนินโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุได้ แต่อย่างไรก็ตาม ลูทีนและซีแซนธินเป็นแคโรทีนอยด์ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากการ รับประทานเข้าไป โดยอาจรับประทานในรูปของอาหารหรืออาหารเสริม
คำสำคัญ
จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ ลูทีน ซีแซนธิน ลิโปฟิวซิน รงควัตถุที่จอประสาทตา, Age-related Macular De