บทความวิชาการ
อาหารทางการแพทย์ (Medical Foods)
ชื่อบทความ อาหารทางการแพทย์ (Medical Foods)
ผู้เขียนบทความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงกุสาวดี เมลืองนนท์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-1-000-002-08-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 10 ส.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 09 ส.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
อาหารทางการแพทย์ (Medical Foods) คืออาหารที่ผลิตขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษทางการแพทย์ (Foods for special medical purposes, FSMPs) เพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการสำหรับผู้ป่วย ผู้ที่มีความผิดปกติหรือสภาวะทางการแพทย์ที่ไม่สามารถได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากอาหารปกติ หรือปรับเปลี่ยนจากอาหารปกติเป็นการชั่วคราวหรือถาวร เป็นการให้โภชนบำบัด (Nutrition therapy) แก่ผู้ที่ขาดสารอาหารหรือเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร มี 2 ลักษณะ คือ 1) การให้สารอาหารทางปาก (Oral nutritional supplements, ONS) 2) การให้สารอาหารทางสายให้อาหาร (Enteral nutrition) นอกจากนี้ยังมีอาหารทางการแพทย์สำหรับทารก (Infant FSMPs, iFSMPs) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเฉพาะสำหรับทารกที่มีความต้องการอาหารพิเศษ เนื่องจากภาวะโรคหรือความผิดปกติ รูปแบบอาหารทางการแพทย์ที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ 1) อาหารทางการแพทย์สำหรับทารกและเด็ก 2) อาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วนหรือสูตรมาตรฐาน (Balanced nutritional supplement formula) และ 3) อาหารทางการแพทย์สูตรเฉพาะโรค(Disease specific formula) อาหารทางการแพทย์แต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบของสารอาหารหลัก (Macronutrient) ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน และสารอาหารรอง (Micronutrient) ได้แก่ วิตามิน และเกลือแร่ ในปริมาณและอัตราส่วนที่เหมาะสมตามความต้องการทางโภชนาการสำหรับผู้บริโภค/ผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม เภสัชกรจึงควรรู้จักอาหารทางการแพทย์ และสามารถให้โภชนบำบัดที่เหมาะสม ตลอดจนให้คำแนะนำในการใช้อาหารทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยผู้บริโภคมีภาวะโภชนาการที่ดีซึ่งจะส่งผลต่อการมีร่างกายที่แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย
คำสำคัญ
Medical Foods, Nutrition therapy, Nutritional supplements