บทความวิชาการ
ยาที่มีฤทธิ์ต้าน proprotein convertase subtilisin/kexin type 9 (PCSK9) กับบทบาทในโรคหัวใจและหลอดเลือด
ชื่อบทความ ยาที่มีฤทธิ์ต้าน proprotein convertase subtilisin/kexin type 9 (PCSK9) กับบทบาทในโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผู้เขียนบทความ ผศ.ภญ.วิภารักษ์ รัตนวิภานนท์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-025-07-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 13 ก.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 12 ก.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
จากการค้นพบบทบาทของ PCSK9 ที่มีต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของ LDL-C ทำให้เกิดการพัฒนายาที่มีฤทธิ์ต้าน PCSK9 ผ่านหลากหลายกลไก และเป็นยาที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า ยาต้าน PCSK9 มีประสิทธิภาพดีในการลดระดับ LDL-C โดยสามารถลดระดับ LDL-C ลงได้ประมาณร้อยละ 55-60 จาก baseline และยาส่วนใหญ่ยังแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในการลดการเกิดเหตุการณ์ทางหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่เคยเกิดเหตุการณ์ทางหัวใจและหลอดเลือด มาก่อนหรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทางหัวใจและหลอดเลือด ปัจจุบันยาที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในผู้ป่วยเพื่อลดระดับ LDL-C และลดความเสี่ยงทางหัวใจและหลอดเลือด คือ evolocumab และ alirocumab ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม monoclonal antibody และ inclisiran ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม small interfering RNA อย่างไรก็ตาม ยาแต่ละชนิดมีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันในแง่ของคุณสมบัติทางเภสัชพลศาสตร์ คุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ รวมถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่รายงานจากการศึกษาทางคลินิกระยะที่ 3
คำสำคัญ
PCSK9, LDL-C, LDL receptor, monoclonal antibody, small interfering RNA, เหตุการณ์ทางหัวใจและหลอดเลือด
วิธีสมัครสมาชิก


เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe