บทความวิชาการ
โพรไบโอติกกับระบบภูมิคุ้มกัน
ชื่อบทความ โพรไบโอติกกับระบบภูมิคุ้มกัน
ผู้เขียนบทความ รศ.ดร.แคทรียา สุทธานุช, รศ.ดร.ธีระ ฤทธิรอด, ภญ.รุ้งระวี วันดี
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-1-000-002-12-2565
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 27 ธ.ค. 2565
วันที่หมดอายุ 26 ธ.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นกับมนุษย์เรามากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำถิ่น โรคตามฤดูกาล และโรคระบาดใหญ่ระดับ Pandermic อย่างโรคโควิด-19 (Covid-19) รวมถึงการพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตที่แคร่งเครียด ล้วนส่งผลทำให้ระบบต่างๆในร่างกายขาดความสมดุลเป็นผลทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้ หนึ่งในระบบร่างกายที่ส่งผลสำคัญต่อสุขภาพของเราคือระบบย่อยอาหาร ดังนั้นการที่ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี แบคทีเรียในลำไส้อยู่ในภาวะสมดุล ก็จะส่งผลให้เกิดสุขภาพที่ดีตามมาด้วย เชื้อโพรไบโอติกเป็นแบคทีเรียชนิดดี มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาภาวะสมดุลของระบบย่อยอาหาร การให้สารอาหารและวิตามินที่มีประโชน์ ร่วมถึงส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ได้อย่างดีอีกด้วย นอกจากนี้การรับประทานอาหารจำพวกพรีไบโอติก ซึ่งมีคุณสมบัติในการเป็นอาหารให้กับเชื้อโพรไบโอติกได้นั้น นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายในการเพิ่มจำนวนเชื้อโพรไบโอติกและยังสามารถเสริมฤทธิ์การทำงานของโพรไบโอติกและพรีไอโบติกได้อีกด้วย หรือที่เรียกว่า คุณสมบัติซีนไบโอติก (synbiotics) ด้วยคุณสมบัติในการส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในนุษย์ได้นั้น ทำให้ปัจจุบันโพรไบโอติกถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ ได้แก่ เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของวัคซีน ป้องกัน รักษาอาการภูมิแพ้และผิวหนังอักเสบ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น
คำสำคัญ
โพรไบโอติก, ระบบภูมิคุ้มกัน, Probiotic