บทความวิชาการ
Clinical Use of NSAIDs for Menstrual Migraine (Mobile CPE 2)
ชื่อบทความ Clinical Use of NSAIDs for Menstrual Migraine (Mobile CPE 2)
ผู้เขียนบทความ ดร.ภญ. ภัณฑิรา ปริญญารักษ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ และ ดร.ภก. กิติยศ ยศสมบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-1-000-004-06-2565
ผู้ผลิตบทความ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 มิ.ย. 2565
วันที่หมดอายุ 31 พ.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บทนำ อาการปวดศีรษะไมเกรนหรือการมีประจำเดือนเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นภาวะที่รบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อาการปวดศีรษะไมเกรนช่วงมีประจำเดือน (menstrual migraine; MM) จึงย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยมากยิ่งขึ้นไปโดยพบว่าอาการปวดศีรษะไมเกรนช่วงมีประจำเดือนมักมีความรุนแรงและระยะเวลาปวดที่ยาวนานมากกว่าอาการปวดศีรษะไมเกรนที่ไม่สัมพันธ์กับประจำเดือน โดยพบว่ากว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนช่วงมีประจำเดือนจะมีความรุนแรงสูงมากจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ1 แม้ว่าองค์ความรู้เกี่ยวกับอาการปวดศีรษะไมเกรนช่วงมีประจำเดือนจะได้รับการศึกษาจนมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสรีรวิทยาของระบบฮอร์โมนและการเกิดไมเกรนเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม การรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนช่วงมีประจำเดือนยังคงเป็นการใช้ยาเพื่อลดความรุนแรงและความถี่ในการกำเริบของอาการเป็นหลัก ทางเลือกในการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนช่วงมีประจำเดือนยังคงมีจำกัด โดยยาที่ได้รับความนิยมและมีข้อมูลการศึกษาทางคลินิก คือ ยากลุ่ม triptans และยากลุ่ม NSAIDs อย่างไรก็ตามพบว่ายากลุ่ม NSAIDs เป็นยาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายสำหรับอาการปวดศีรษะไมเกรนช่วงมีประจำเดือนมากกว่ายากลุ่ม triptans ซึ่งอาจเป็นเพราะยากลุ่ม NSAIDs สามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนที่พบร่วมด้วยได้ดีและเป็นที่นิยมใช้อยู่แล้วในทางปฏิบัติโดยเฉพาะ mefenamic acid บทความนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อทบทวนข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ในการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนช่วงมีประจำเดือน
คำสำคัญ
ไมเกรน, ประจำเดือน, NSAIDs, mefenamic acid