การประชุมวิชาการ
อบรมเชิงปฏิบัติการ“การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยเภสัชกร” รุ่นที่ 6
ชื่อการประชุม อบรมเชิงปฏิบัติการ“การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยเภสัชกร” รุ่นที่ 6
สถาบันหลัก ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
รหัสกิจกรรม 0001-2-000-036-08-2567
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี
วันที่จัดการประชุม 03 -04 ส.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 8 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การบริการเภสัชกรรมทางไกล (Tele pharmacy) คือ การบริบาลทางเภสัชกรรมและการบริการที่เกี่ยวเนื่องแก่ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ รวมทั้งการส่งมอบเภสัชภัณฑ์โดยผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลไปยังผู้ป่วย ที่อยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยจะได้รับยาและการดูแลรักษาทางเภสัชกรรม ภายในสถานที่ที่ปลอดภัยและสะดวกต่อการเข้าถึง ซึ่งครอบคลุมไปถึง การให้คำปรึกษาด้านยา (patient counseling) การจำหน่ายยา (drug selling) การส่งมอบยา (dispensing) และการติดตามการรักษาและผลข้างเคียง (drug therapy monitoring) โดยเป้าหมายของเภสัชกรรมทางไกลมีดังนี้
1.เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล ลดความเหลื่อมล้ำ และลดการรอคอยในการเข้าถึงบริการ สนับสนุนการพัฒนาหน่วยบริการก้าวหน้าโดยขยายการบริการด้านเภสัชกรรมให้ครอบคลุมทางการบริการเภสัชกรรมทางไกล (Tele pharmacy) และ e-pharmacy/ e-platform
2.ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายโดยอ้อม และสนับสนุนการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย เช่น ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายระหว่างการไปโรงพยาบาล ค่าเสียโอกาสในการได้รายได้จากการทำงาน
3.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและกำลังคนในระบบสาธารณสุขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริการ
4.ผลักดันการพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขในการใช้ประโยชน์เพื่อรองรับการแพทย์วิถีใหม่ (ดิจิทัล)
5.สนับสนุนมาตรการ social distancing (end-to-end) เพื่อควบคุมการระบาดของโรค มุ่งพัฒนาระบบสาธารณสุขเพื่อเพิ่มศักยภาพความมั่นคงทางสุขภาพในการจัดการกับโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการเภสัชกรรมทางไกล จึงมีความจำเป็นที่สภาเภสัชกรรมจะต้องพัฒนาให้เภสัชกรมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถให้บริการเภสัชกรรมทางไกลได้ ดังนั้นสภาเภสัชกรรมจึงจัดการฝึกอบรมหลักสูตร การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) ขึ้น
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นวิธีการสำคัญในการลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการป่วย และอัตราการเสียชีวิตที่สำคัญ นอกจากนี้ ความครอบคลุมของการได้รับภูมิคุ้มกันโรคจะส่งผลให้เกิด herd immunity ที่จะส่งผลป้องกันการติดเชื้อของบุคคลอื่นในชุมชนที่ไม่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อันเนื่องมาจากมีข้อห้ามทางการแพทย์ เภสัชกรเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ทั้งเภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรชุมชน และเภสัชกรปฐมภูมิ เพื่อเพิ่มช่องทางในการรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และเพิ่มอัตราการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การศึกษาแบบ randomized control trial พบว่า เภสัชกรชุมชนสามารถเพิ่มอัตราการได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอกคัส และไข้หวัดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า OR 1.91; 95% CI, 1.26-2.87) และ OR, 2.18; 95% CI, 1.37-3.46 ตามลำดับ (Sheer RL, et al. Am J Manag Care 2021 Oct;27(10):425-431. doi: 10.37765/ajmc.2021.88760) นอกจากนี้ เภสัชกรชุมชนยังสามารถเพิ่มความเข้าใจถึงความจำเป็นในการได้รับวัคซีนนิวโมคอกคัสและเพิ่มอัตราการได้รับวัคซีนนิวโมคอกคัสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.008) (Abu-Rish EY, et al. Hum Vaccin Immunother 2021 Apr 3;17(4):1181-1189. doi: 10.1080/21645515.2020.1802973. Epub 2020 Sep 15.)
สภาเภสัชกรรม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยได้ออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรรม (ฉบับที่ 3) ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นข้อ 16 แห่งข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2561“ข้อ 16 การให้ภูมิคุ้มกันโรคตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและมอบหมายโดยผ่านการฝึกอบรมตามที่สภาเภสัชกรรมประกาศกำหนด” จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ“การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยเภสัชกร” ขึ้น
วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เภสัชกร มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริการเภสัชกรรมทางไกล
2.เพื่อให้เภสัชกรสามารถให้บริการเภสัชกรรมทางไกลได้
3.อธิบายถึงข้อมูลพื้นฐานของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อธิบายถึงวัคซีนชนิดต่างๆ ทั้งข้อบ่งใช้ ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง อาการไม่พึงประสงค์ การติดตามผู้ป่วย
4.อธิบาย ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาการสร้างเสริมคุ้มกันโรคแก่ผู้ป่วยได้
5.ฉีดวัคซีนได้ และกำจัดของมีคมติดเชื้อได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ
วิธีสมัครการประชุม
สามารติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02 591 9992 กด 4 ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ หรือติดต่อ รศ.ภญ.สุณี เลิศสินอุดม โทร 0816617237 ไลน์ไอดี @sunee.l