โครงการอบรม เรื่อง Product quality specification for herbal medicine registration
ชื่อการประชุม |
 |
โครงการอบรม เรื่อง Product quality specification for herbal medicine registration |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
รหัสกิจกรรม |
 |
1006-2-000-023-05-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ห้องบรรยาย “สินธุ์ชัย แก้วกิติชัย” ชั้น 8 อาคารศูนย์เรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม |
วันที่จัดการประชุม |
 |
30 พ.ค. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรและผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร จำนวน 70 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งมีการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรอย่างเป็นระบบผ่านบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรที่แยกออกจากบัญชียาแผนปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐ เช่น กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยังมีบทบาทสำคัญในการกำกับมาตรฐาน ตลอดจนการจัดทำ ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia) เพื่อใช้เป็นแนวทางกำหนดคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมสมุนไพร มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยต่าง ๆ จึงได้มีการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับมาตรฐานสู่ระดับสากล โดยคำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังมีนโยบายส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรในหน่วยบริการสุขภาพ เพื่อลดการพึ่งพาวัตถุดิบทางยาจากต่างประเทศ รวมถึงผลักดันการพัฒนานวัตกรรมให้สามารถขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้เป็นไปตามข้อบังคับทางกฎหมาย จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้ทั้งผู้ประกอบการและหน่วยงานกำกับดูแลของภาครัฐมีความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาสูตรตำรับ กระบวนการผลิต ไปจนถึงการผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้บริโภคและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน
การจัดโครงการอบรมการจัดทำข้อกำหนดด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำหรับยื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์ยาพัฒนาจากสมุนไพรจึงเป็นเวทีสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภาคเอกชนและหน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในกฎหมายผลิตภัณฑ์สมุนไพร กระบวนการขอขึ้นทะเบียนตำรับ ตลอดจนแนวทางการจัดเตรียมเอกสารและประเมินข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับวัตถุดิบสมุนไพร (herbal substance) สมุนไพรที่ผ่านกระบวนการเตรียม (herbal preparation) และผลิตภัณฑ์สมุนไพร (herbal product) ให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ
สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหน่วยงานหนึ่งที่สามารถสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมสมุนไพรของประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงประสบการณ์ด้านการพัฒนาและการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้เป็นไปตามมาตรฐาน และสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562เพื่อให้กระบวนการพัฒนาและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมายและวิชาการ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการประชุมวิชาการ โดยผสานทั้งรูปแบบการบรรยาย เสวนา และเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมทราบถึงภาพรวมของกระบวนการยื่นเอกสารขออนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นไปตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562
2.เพื่อให้ความรู้การขอขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามข้อกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยมุ่งเน้นเอกสารด้านคุณภาพของยาพัฒนาจากสมุนไพร (กลุ่ม ข.)
3.เพื่อให้ผู้ทำหน้าที่ด้านขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร สามารถจัดทำข้อกำหนดของวัตถุดิบสมุนไพร สมุนไพรที่ผ่านกระบวนการเตรียม และผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้
4.เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดทำข้อหนดต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์สมุนไพร
วิธีสมัครการประชุม
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลโครงการ ได้ที่
ศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพศิลปากร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ถนนราชมรรคาใน อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
โทรศัพท์ 08-9918-3921
เวลาเปิดทำการ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ