ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 29 “A Modern Approach to Cardiometabolic Diseases: Mechanisms and Therapeutic Strategies”
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 29 “A Modern Approach to Cardiometabolic Diseases: Mechanisms and Therapeutic Strategies”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-002-02-2568
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี
วันที่จัดการประชุม 22 -23 ก.พ. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย 1. เภสัชกรโรงพยาบาลเครือข่ายสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) 2. เภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป 3. เภสัชกรผู้สนใจอื่นๆ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของคาร์ดิโอเมตาบอลิก รวมถึง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเมตาบอลิซึม อาทิเช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ถือเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นภัยด้านสุขภาพอย่างหนึ่ง ปัจจุบันยาที่มีการแนะนำตามแนวทางปฏิบัติสำหรับรักษาโรคเบาหวาน และโรคหัวใจมีมากมายหลายกลุ่ม ทำให้ผลการรักษาโรค มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นเภสัชกรจึงมีบทบาทสำคัญในการทราบถึงยากลุ่มใหม่ๆ และสามารถเลือกใช้กับผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วย นอกจากนั้นยังมียาที่มีชื่อสามัญเดียวกันแต่มีราคาจำหน่ายที่แตกต่างกันและมีหลายชื่อการค้า โรงพยาบาลต่างๆจึงจำเป็นต้องมีระบบการคัดเลือกยาที่เหมาะสมเพื่อมาใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกยาจะอ้างอิงตามคุณลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยา รวมถึงบทบาทในการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของยาที่ต้องจัดซื้อ ว่ายาแต่ละรายการควรมีคุณลักษณะเฉพาะอย่างไรโดยอ้างอิงหลักวิชาการ เนื่องจากยาที่ผลิตจากแต่ละผู้ผลิตอาจมีแหล่งวัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการรักษา ดังนั้นเภสัชกรจึงควรต้องศึกษาค้นคว้าและติดตามข้อมูลข่าวสารด้านยาอยู่เสมอ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดหาและกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ทันสมัยรวมถึงนำความรู้มาพัฒนาดูแลผู้ป่วยอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการส่งมอบยาที่มีคุณภาพเหมาะสมและนำไปใช้กับผู้ป่วยต่อไป
วัตถุประสงค์
1. ได้เพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านยาและทักษะวิชาชีพพื้นฐานในการดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา ทั้งผลการรักษา ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคคาร์ดิโอเมตาบอลิก
3. เพื่อให้เภสัชกรโรงพยาบาลได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการดูแลด้านยา การปฏิบัติงานวิชาชีพ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน
คำสำคัญ
Cardiometabolic Diseases, Diabetes, Cardiovascular, Anticoagulant, Heart Failure