การประชุมวิชาการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุขด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อการพัฒนาการจัดบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
ชื่อการประชุม |
|
การประชุมวิชาการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุขด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อการพัฒนาการจัดบริการอย่างมีประสิทธิภาพ |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
รหัสกิจกรรม |
|
1002-2-000-004-06-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ณ ห้องประชุม 606 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
วันที่จัดการประชุม |
|
04 -06 มิ.ย. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
บุคลากรสาธารณสุขที่ทำงานในโรงพยาบาลทุกระดับ เช่น แพทย์ เภสัชกร ฯลฯ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
15.75 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ หรือ Health Technology Assessment (HTA) เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการประเมินความปลอดภัย ประสิทธิผล ต้นทุน ความคุ้มค่า ผลกระทบต่อองค์กร สังคม และจริยธรรม ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น ยา วัคซีน เครื่องมือแพทย์ การคัดกรอง มาตรการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและส่งผลต่อความยั่งยืนในระบบสุขภาพ ทั้งนี้ในระบบสุขภาพของประเทศไทยได้มีการนำเอาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพมาใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับนโยบาย เช่น การพิจารณาเพื่อตัดสินใจในกระบวนการคัดเลือกผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีด้านสุขภาพของชุดสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ (Universal Coverage Benefits Package: UCBP) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รวมถึงการคัดเลือกยาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of Essential Medicine: NLEM) ทั้งนี้ในกระบวนการคัดเลือกผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีด้านสุขภาพเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ความรู้และความเข้าใจในหลักการ เหตุผล และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการนำ HTA มาใช้ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนี้ นอกจากนี้ในระดับโรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข การพัฒนาการจัดบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจำเป็นต้องมีการนำหลักการของ HTA เข้ามาใช้ในการประเมินผลของกิจกรรม หรือ มาตรการต่างๆ ทั้งในแง่ของ ต้นทุนที่ใช้ไป ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งการประเมินเหล่านี้นอกจากจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาจากการทำงานประจำและเป็นการยกระดับการพัฒนางานที่รับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้นและยังสามารถนำมาทำเป็นผลงานวิชาการเพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าในการปรับตำแหน่งได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม บุคลากรสาธารณสุขบางส่วนยังขาดองค์ความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพตลอดจนประสบการณ์ในการทำวิจัย จึงทำให้ขาดความมั่นใจและความพร้อมในการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพและการพัฒนาผลงานวิชาการดังกล่าว
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงเห็นควรจัดโครงการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้ด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุขในการพัฒนาผลงานวิจัยจากงานประจำด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นการอบรมจำนวน 2 ส่วน ได้แก่ การบรรยายให้ความรู้ด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (ส่วนที่ 1) และ การบรรยายให้ความรู้และ workshop เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขที่สนใจ ได้เรียนรู้ หลักการ กระบวนการและลงมือพัฒนาโครงร่างการวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาผลงานวิชาการด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ สำหรับการขอตำแหน่งวิชาการ เพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าในวิชาชีพและยกระดับการจัดบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ส่วนที่ 2)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลทุกระดับให้มีความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ HTA
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลทุกระดับด้านการจัดทำผลงานวิชาการด้านการ
ประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพดังต่อไปนี้
- การหาหัวข้อการวิจัยที่เหมาะสม
- การออกแบบการวิจัยด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
- การพัฒนาโครงร่างการวิจัย
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและลงทะเบียน
สมัครพร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-443603-5 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม scan และแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงิน
ค่าลงทะเบียน
การร่วมประชุมที่คณะเภสัชศาสตร์ (onsite) วันที่ 4 มิถุนายน 2568 1,200 บาทต่อคน
การร่วมประชุมช่องทางออนไลน์ (online) วันที่ 4 มิถุนายน 2568 600 บาทต่อคน
การร่วมประชุมที่คณะเภสัชศาสตร์ (onsite) วันที่ 4 - 6, 27 มิถุนายน 2568 5,900 บาทต่อคน
(สำหรับผู้สมัครในวัตถุประสงค์ที่ 2 จะต้องมีการส่งรายละเอียดหัวข้อที่สนใจในการพัฒนาโครงร่างการวิจัยตามแบบฟอร์มเพื่อประกอบการคัดเลือก)
สำหรับศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับส่วนลดค่าลงทะเบียน 500 บาท
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมได้โดยไม่ถือเป็นวันลาเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้วและมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.6/ ว 95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน
สอบถามข้อมูล
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ ที่โทรศัพท์หมายเลข 087-559-7393 E-mail: supattra.kon@mahidol.ac.th
- ภาควิชาเภสัชกรรม รศ.ดร.ภญ. มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ E-mail: montarat.tha@mahidol.edu, คุณจารุกิตต์ บุญสิริ E-mail: jarukit.boo@mahidol.ac.th, คุณพิณพิศ แสงเภา, คุณพูนทรัพย์ มี้เจริญ โทรศัพท์หมายเลข 0-2644-8694