หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นทางการบริหารเภสัชกิจ เรื่อง หลักฐานเชิงประจักษ์และการตัดสินใจทางสุขภาพ
ชื่อการประชุม |
|
หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นทางการบริหารเภสัชกิจ เรื่อง หลักฐานเชิงประจักษ์และการตัดสินใจทางสุขภาพ |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
|
1001-2-000-060-12-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Zoom webinar) |
วันที่จัดการประชุม |
|
01 ธ.ค. 2567 - 31 พ.ค. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
นิสิต นักศึกษา นักวิจัยและผู้ที่สนใจทั่วไป |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
12 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
การบริหารเภสัชกิจมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา การปฏิบัติต้องอาศัยความรู้และทักษะการบูรณาการเภสัชศาสตร์ร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและประชาชนให้สามารถเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเมื่อต้องการและมีการใช้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย ภายใต้สภาเภสัชกรรม ตระหนักถึงความเป็นพลวัตของบทบาทเภสัชกรในการจัดการอุปสงค์และอุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าเภสัชกรรมในระบบสุขภาพ ต้องทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน อีกทั้งการจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพ การบริการสุขภาพ รวมถึงข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้เภสัชกรผู้ปฏิบัติในบทบาทหน้าที่ดังกล่าวทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน มีความจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านบริหารเภสัชกิจอย่างต่อเนื่อง จักเป็นประโยชน์ให้ระบบยาและสุขภาพมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมต่อไป
เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (health technology) ครอบคลุมถึง ยา หัตถการ วัคซีน เครื่องมือแพทย์ ขั้นตอน ระบบ รวมถึงนโยบายต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน ถือเป็นงานหนึ่งที่มีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมในทุกระดับทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ (efficiency) สูงสุดในการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ เภสัชกรต้องมีความรู้พื้นฐานและเชิงลึกในกระบวนการการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (health technology assessment: HTA) สามารถนำผลการประเมินไปใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุนด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้รับการรักษาและบริการที่ดี สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางสุขภาพได้มากขึ้นและเหมาะสม คุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงทุน (value for money)
วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารเภสัชกิจระยะสั้นนี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมสถาบันหลักและสถาบันสมทบในการจัดทำโครงการฝึกอบรมด้านการบริหารเภสัชกิจเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพและความเชี่ยวชาญให้แก่เภสัชกรต่อไป
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมศักยภาพของเภสัชกรในการใช้เครื่องมือและข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในระดับนโยบาย
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283,8481
e-mail: ce@pharm.chula.ac.th