ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 18 เมษายน 2568

การประชุมวิชาการ
Effective deviation handling and change control management
ชื่อการประชุม Effective deviation handling and change control management
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-024-11-2567
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม แอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 12 -13 พ.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานดังนี้ ผู้บริหาร ประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพ ผลิต วิศวกรรม ผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ / GMP ผู้สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 11 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดีต้องปฏิบัติหรือดำเนินการภายใต้ข้อกำหนด GMP และการบริหารระบบคุณภาพ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพตามกำหนด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ผลิตจึงต้องพัฒนากระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพให้เหมาะสม ถูกต้อง และนำไปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ (consistency) ภายใต้สภาวะที่ควบคุม แต่ในการดำเนินการ บางครั้งมีความเบี่ยงเบน (deviation) จากวิธีการปฏิบัติที่ผ่านการอนุมัติแล้ว (approved procedure) หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ (established standard) ในกรณีที่เกิด ความเบี่ยงเบน ผู้ผลิตจะต้องมีระบบการจัดการกับความเบี่ยงเบน ตามหลักการระบบคุณภาพและ GMP ต้องดำเนินการแก้ไข (correction)เพื่อให้เข้าสู่ภาวะปกติหรือไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพในกระบวนการถัดไป และดำเนินการสืบสวนหาสาเหตุ (root cause analysis) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นอีก (recurrent) ได้แก่กระบวนการ corrective action ระบบคุณภาพที่ดีมุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดความเบี่ยงเบนโดยพิจารณาจากความเสี่ยงหรือแนวโน้มที่อาจให้ก่อเกิดความเบี่ยงเบนขึ้น ได้แก่ระบบ preventive action ในการสืบสวนหาสาเหตุอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องมีการวางแผน ควบคุม และประเมินผลกระทบต่อคุณภาพ นอกจากนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือใช้เทคโนโลยีใหม่ ในการผลิต การควบคุม หรือกรประกันคุณภาพ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ หรือมีข้อกำหนด GMP หรือระบบคุณภาพเปลี่ยนแปลง ก็ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการให้สอดคล้องข้อกำหนด
การจัดการกับความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น และการควบคุมความเปลี่ยนแปลง มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจกระบวนการและวิธีการปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงกับผู้บริโภคที่ได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพและไม่ปลอดภัย ส่วนในด้านธุรกิจความเบี่ยงเบนหรือความล้มเหลวจากระบบทำให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุนและอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อองค์กร
วัตถุประสงค์
• เพื่อเข้าใจความหมายและความสำคัญของdeviation และ change control
• เพื่อเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติการจัดการกับ deviation และ change control
• เพื่อเรียนรู้ระบบ CAPA ( Corrective Action/ Preventive Action )
• เพื่อเรียนรู้ผลกระทบจากการเกิดdeviation และ change control จากผู้มีประสบการณ์
• เพื่อเรียนรู้การปรับเปลี่ยนระบบคุณภาพเป็นระบบ electronic quality management system
• เพื่อเรียนรู้ประโยชน์การใช้ระบบ electronic quality management system
• เพื่อทราบความเห็นและข้อแนะนำของผู้ตรวจประเมินGMP เกี่ยวกับการจัดการ deviation และ change control
คำสำคัญ
root cause analysis, deviation, change control
วิธีสมัครการประชุม
เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุม วิชาการครั้งนี้ จะได้ 11 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง ระยะเวลาการฝึกอบรม วันอังคารที่ 12 - วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.30 น. – 16.30 น. สถานที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ ค่าลงทะเบียน ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2567 สมาชิกTIPA คนละ 4,280 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ) บุคคลทั่วไป คนละ 5,350 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ) ตั้งแต่วันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2567 สมาชิกTIPA คนละ 4,815 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ) บุคคลทั่วไป คนละ 5,885 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% )