ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ (กิจกรรมที่ 3) เรื่อง Regulatory Impact Assessment (RIA) (ภายใต้หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น การประเมินผลกระทบสำหรับระบบยา Short Course Training Program in Impact Assessment for Drug System รุ่นที่ 1 ปี 2568)
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ (กิจกรรมที่ 3) เรื่อง Regulatory Impact Assessment (RIA) (ภายใต้หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น การประเมินผลกระทบสำหรับระบบยา Short Course Training Program in Impact Assessment for Drug System รุ่นที่ 1 ปี 2568)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-052-12-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่จัดการประชุม 18 -19 ธ.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 10 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การบริหารเภสัชกิจมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา การปฏิบัติต้องอาศัยความรู้และทักษะการบูรณาการเภสัชศาสตร์ร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและประชาชนให้สามารถเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเมื่อต้องการและมีการใช้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย ภายใต้สภาเภสัชกรรม ตระหนักถึงความเป็นพลวัตของบทบาทเภสัชกรในการจัดการอุปสงค์และอุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าเภสัชกรรมในระบบสุขภาพ ต้องทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน อีกทั้งการจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพ การบริการสุขภาพ รวมถึงข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้เภสัชกรผู้ปฏิบัติในบทบาทหน้าที่ดังกล่าวทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน มีความจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านบริหารเภสัชกิจอย่างต่อเนื่อง จักเป็นประโยชน์ให้ระบบยาและสุขภาพมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมต่อไป
นโยบายและการใช้จ่ายทรัพยากรของรัฐบาลในทุกกระทรวงทบวงกรม มีผลอย่างมากต่อความชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของคนในประเทศทั้งในทางบวกและทางลบ การพัฒนาสุขภาพให้ได้ผลจึงต้องคำนึงถึงผลกระทบของนโยบาย มาตรการ และแผนงานสาขาต่าง ๆ ของรัฐ และหาทางปรับเปลี่ยนทิศทางของนโยบายเหล่านี้ให้เป็นไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ
ระบบยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพ การดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบยา ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น คำถามที่สำคัญคือ จะมุ่งสร้างระบบยาที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะได้อย่างไร เภสัชกรที่เกี่ยวข้องและต้องขับเคลื่อนระบบสุขภาพควรมีความเข้าใจในการประเมินผลกระทบด้านต่าง ๆ เครื่องมือประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ การประเมินผลกระทบด้านกฎระเบียบ กับนโยบายที่เกี่ยวข้อง รูปแบบจำลองในการประเมินผลกระทบ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารเภสัชกิจระยะสั้นนี้ขึ้น เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพและความเชี่ยวชาญให้แก่เภสัชกรต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมศักยภาพและความเชี่ยวชาญให้แก่เภสัชกรในการประเมินผลกระทบนโยบายด้านยาและสุขภาพ
คำสำคัญ
การประเมินผลกระทบสำหรับระบบยา
วิธีสมัครการประชุม
Online