ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 18 เมษายน 2568

การประชุมวิชาการ
The Seventh Siriraj Antimicrobial Stewardship (7th AMS) Conference
ชื่อการประชุม The Seventh Siriraj Antimicrobial Stewardship (7th AMS) Conference
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-042-11-2567
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุม อวย เกตุสิงห์ อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 3 โรงพยาบาลศิริราช
วันที่จัดการประชุม 23 -24 พ.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 8.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัญหาสำคัญที่พบมากขึ้นในการรักษาโรคติดเชื้อในปัจจุบัน คือ การดื้อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรีย ซึ่งมีผลทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นและค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลจะทำให้ผลการรักษาผู้ป่วยดีขึ้น ลดระยะเวลาของการอยู่โรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่าย และลดอุบัติการณ์ของเชื้อดื้อยา ดังนั้น การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลจึงเป็นมาตรการสำคัญในการชะลอความรุนแรงของการดื้อยาต้านจุลชีพ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพ และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถดำเนินการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล (antimicrobial stewardship program) ในโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ลิงก์สมัครลงทะเบียน https://www2.si.mahidol.ac.th/sirirajconference/event/sm/content/3321/TH/ อัตราค่าลงทะเบียน ประเภทผู้เข้ารับการฝึกอบรมอัตราค่าลงทะเบียน (บาท) 1 สค. - 30 กย. 2567 บุคคลภายในและภายนอกคณะ -แพทย์/ทันตแพทย์ 2,000 -พยาบาล/เภสัชกร 2,000 -แพทย์ประจำบ้าน/แพทย์ประจำบ้านต่อยอด/เฟลโลว์/นักศึกษา 2,000 -บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ 2,000 1 – 31 ตค. 2567 บุคคลภายในและภายนอกคณะ -แพทย์/ทันตแพทย์ 2,500 -พยาบาล/เภสัชกร 2,500 -แพทย์ประจำบ้าน/แพทย์ประจำบ้านต่อยอด/เฟลโลว์/นักศึกษา 2,500 -บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ 2,500 ติดต่อเพิ่มเตืม สาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ ร่วมกับ WHO Collaborating Centre for Antimicrobial Resistance (AMR) Prevention and Containment คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช