ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
โครงการการสร้างแบบจำลองและการประเมินความคุ้มค่าของเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
ชื่อการประชุม โครงการการสร้างแบบจำลองและการประเมินความคุ้มค่าของเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-038-10-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมเอส ดี อเวนิว จังหวัดกรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 28 ต.ค. 2567 - 21 มี.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรและผู้สนใจ จำนวน 40 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 38 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การบริหารเภสัชกิจมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา การปฏิบัติต้องอาศัยความรู้และทักษะการบูรณาการเภสัชศาสตร์ร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและประชาชนให้สามารถเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเมื่อต้องการและมีการใช้อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทยภายใต้สภาเภสัชกรรม ตระหนักถึงความเป็นพลวัตของบทบาทเภสัชกรในการจัดการอุปสงค์จัดการและอุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าเภสัชกรรมในระบบสุขภาพ ต้องทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน อีกทั้งการจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพ การบริการสุขภาพ รวมถึงข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้เภสัชกรผู้ปฏิบัติในบทบาทหน้าที่ดังกล่าว ทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน มีความจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านบริหารเภสัชกิจอย่างต่อเนื่อง จักเป็นประโยชน์ให้ระบบยาและสุขภาพ มีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมต่อไป
ปัจจุบันการพัฒนายาและเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนและมีประโยชนตอสังคมอย่างมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์เหลานั้นมักมีราคาสูง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ของประชาชนบางกลุม การพิจารณาคัดเลือกสิทธิประโยชนดานสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชนจึงเป็นประเด็นที่สำคัญของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ภายใตทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดการประเมินความคุมค่าด้วยการประเมินทางเศรษฐศาสตร์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งตอการคัดเลือกยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความคุมค่าและเหมาะสมต่อบริบทของประเทศ เภสัชกรจึงควรเขาใจระบบสุขภาพและการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ แบบจำลองและวิธีการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ การจัดการข้อมูลในแบบจำลอง การจัดการความไม่แน่นอนของผลลัพธ์ การวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณ และการจัดทำรายงานเพื่อประกอบการตัดสินใจ
โครงการการสรางแบบจำลองและการประเมินความคุมคาของเทคโนโลยีและนโยบายดานสุขภาพนี้ ทางคณะทำงานได้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องดังกล่าวสำหรับผู้ที่มีความสนใจ โดยสาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการบริหารทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วางแผนการดำเนินโครงการในรูปแบบการประชุมวิชาการ ภาคบรรยาย 1 ช่วง (ระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม พ.ศ.2567) มุ่งเน้นการเรียนรู้แนวคิดและความสำคัญของการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ แนวทางการสร้างแบบจำลอง และการแปลผลการวิเคราะห์ ภาคปฏิบัติการ 3 ช่วง โดยปฏิบัติการช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 มุ่งเน้นขั้นตอนการวิเคราะห์อภิมานสำหรับข้อมูลที่ใช้ในแบบจำลอง การฝึกทำแบบจำลอง ปฏิบัติการช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 23-24 มกราคม พ.ศ.2568 มุ่งเน้นการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และปฏิบัติการช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม พ.ศ.2568 เป็นการวิเคราะห์ความไม่แน่นอนของตัวแปรในแบบจำลอง โดยโครงการนี้คาดหวังให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้กับการคัดเลือกเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจหลักการและความสำคัญของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เพื่อนำไปใช้ในการคัดเลือกและจัดหาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถวิเคราะห์ต้นทุนและผลลัพธ์เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในงานเภสัชกรรม
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจหลักการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง
คำสำคัญ