ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
เรื่อง Pharmacotherapy in Cardiometabolic Diseases ครั้งที่ 15
ชื่อการประชุม เรื่อง Pharmacotherapy in Cardiometabolic Diseases ครั้งที่ 15
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-049-10-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร และ Zoom Webinar
วันที่จัดการประชุม 02 -04 ต.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจทั่วไป 150 คน และนิสิตบัณฑิตศึกษา และคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 30 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 18 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยความร่วมมือของ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ ฝ่ายวิชาการ หน่วยฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ และหน่วยการวิชาการภายใต้หัวข้อการประชุมวิชาการเรื่อง Pharmacotherapy in Cardiometabolic Diseases ครั้งที่ 15 ขึ้น เนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคที่พบได้มากในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ ของผู้ป่วยในประเทศไทย อัตราที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย และการมีอายุขัยที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม กระบวนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและทันเวลา จะสามารถลดอัตราการเสียชีวิต ลดระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยได้ การมีเภสัชกรเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมสหสาขาวิชาชีพในการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจะช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามการที่เภสัชกรจะปฏิบัติงานดังกล่าวให้เกิดผลสัมฤทธิ์นั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนร่วมกัน ส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ องค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคและแนวทางการรักษา อีกทั้งการเฝ้าติดตามผลการรักษาผู้ป่วย
ดังนั้น ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดการประชุมวิชาการเรื่อง Pharmacotherapy in Cardiometabolic Diseases ครั้งที่ 15 ขึ้น เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงแนวทางในการบำบัดรักษา และการติดตามผลการรักษาของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการใช้ยาบำบัดรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
2.เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 0-2218-8283 หรือe-mail: ce@pharm.chula.ac.th โดยมีอัตราค่าลงทะเบียนดังนี้ ค่าลงทะเบียนแบบเข้าร่วมประชุมในห้องประชุม ท่านละ 4,500 บาท ค่าลงทะเบียนแบบชมออนไลน์ จำกัดจำนวน 60 ท่าน ท่านละ 2,400 บาท (สามารถเข้าชมย้อนหลังได้)