0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับ ประกาศ และคู่มือ
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
ขั้นตอนและคำขอ
ตรวจสอบหน่วยกิต
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2567
ชื่อการประชุม
ประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2567
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม
1015-2-000-006-05-2567
สถานที่จัดการประชุม
โรงแรม The Tide Resort และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วันที่จัดการประชุม
23 -24 พ.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
กลุ่มเป้าหมาย
คณาจารย์และผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ 20 สถาบัน จำนวน 300 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
7.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ตามที่คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ประสานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) ให้ความสำคัญกับการศึกษาของเภสัชกรไทยมาอย่างเนิ่นนาน ดังจะเห็นได้จากการจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านเภสัชศาสตรศึกษาขึ้นเพื่อดูแลกิจกรรมและประสานงานในด้านที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของคณะเภสัชศาสตร์ สถาบันต่าง ๆ สืบเนื่องกับการดำเนินกิจกรรมโครงการประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2566 ในประเด็นหลัก Foresight in Pharmacy Education: The Next Move ณ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับคณะอนุกรรมการด้านเภสัชศาสตรศึกษา ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) ที่ผ่านมานั้น ได้รับความสนใจและการตอบรับเป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามกรอบทิศทางการศึกษาและสภาพสังคมนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสภาพสังคม ฐานเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ต้องเร่งดำเนินการเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ในการนี้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับอนุกรรมการด้านเภสัชศาสตรศึกษา ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) จึงได้ดำเนินการจัดโครงการประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2567 ขึ้น ในวันที่ 23 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เพื่อให้คณะเภสัชศาสตร์ ทุกสถาบันก้าวเข้าสู่สังคมยุคใหม่ พัฒนาและยกระดับการศึกษาภายใต้วิชาเภสัชกรรมไปพร้อมกัน โดยกิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วย การพบปะทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากแต่ละสถาบัน การบรรยายจากวิทยากรระดับประเทศ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน และการนำเสนอผลงานวิจัย กิจกรรมเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดความสัมพันธ์ ทัศนคติและความเข้าใจอันดีต่อกัน รวมถึงการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาและเติบโตเป็นวิชาชีพเภสัชกรรมที่แข็งแกร่งต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรับทราบข้อมูลสำคัญ สถานการณ์ และทิศทางการจัดการศึกษาเภสัชศาสตร์ของไทย
2. เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์การดำเนินการด้านเภสัชศาสตรศึกษาระหว่างคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์
3. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเภสัชศาสตรศึกษา และร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนมุมมองผลงานวิจัยในกลุ่มคณาจารย์เภสัชศาสตร์
คำสำคัญ