ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
โครงการ CPA Pharmacy Business Bootcamp รุ่นที่ 1
ชื่อการประชุม โครงการ CPA Pharmacy Business Bootcamp รุ่นที่ 1
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-2-000-014-05-2567
สถานที่จัดการประชุม ห้องกษัตริย์ศึก โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ รองเมือง
วันที่จัดการประชุม 25 พ.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนฯ นักศึกษาเภสัชศาสตร์
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
แนวโน้มธุรกิจร้านยาหลังผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด – 19 ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อ 31 สิงหาคม 2565 มีร้านยาอยู่ที่ 22,205 แห่งเป็นร้านยาขายยาแผนปัจจุบัน 18,551 แห่ง เป็นร้านยาเดี่ยว (Stand-alone) คือเป็นผู้ประกอบการรายกลางและเล็ก มีจำนวนประมาณ 75% ของร้านขายยาแผนปัจจุบัน โดยสถานการณ์ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีการแข่งกันอย่างสูงขึ้น ทั้งการขยายสาขาของร้านยาเชน และ ยังมีการขยายพื้นที่จำหน่ายยาของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อาทิ ดิสเคาน์สโตร์ และซูเปอร์มาร์เก็ต (เปิดสาขารวมกันเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 50 สาขา) และร้านสะดวกซื้อ (อาทิ 7-Eleven มีแผนเปิดสาขาปีละ 700 สาขา)

จากสถานการณ์และภัยคุกคามต่างๆ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) เป็นองค์กรที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรที่เป็นผู้ประกอบการให้มีความสามรถในการแข่งขัน โดยครั้งนี้สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) ได้ร่วมมือกับ ธนาคาร SME และสมาพันธ์ผู้ประกอบการ SME ร่วมกันจัดโครงการ CPA Pharmacy Business Bootcamp รุ่นที่1 โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการที่เป็นเภสัชกร สามารถพัฒนาธุรกิจร้านยา เขียนแผนธุรกิจ งบการเงิน และมีความเข้าใจเรื่องบัญชี ภาษี เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารได้ พร้อมกับการยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านบริบาลเภสัชกรรม การให้บริการทางเภสัชกรรม การรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมและพิทักษ์เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพเภสัชกรรม

ในการจัดประกวดครั้งนี้ได้อบรมจะเป็นการอบรมผ่านระบบ Zoom Webinar 3 ครั้ง ดังนี้
•ในวันที่ 4 พ.ค. 67 เรื่อง ปรับแนวคิดธุรกิจของคุณให้ถูกต้อง Business Model canvas
•วันที่ 11 พ.ค. 67 เรื่องบัญชี ภาษี งบการเงิน
•วันที่ 18 พ.ค. 67 เรื่อง แผนการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจสุขภาพ

และจัดการประกวดแผนธุรกิจร้านยา รูปแบบ Onsite ในวันที่ 25 พ.ค.67 โดยจัดประกวดใน 2 ระดับ กล่าวคือ ระดับบุคคลธรรมดา และระดับนิติบุคคล เพื่อให้เภสัชกรได้พัฒนาศักยภาพในการประกอบธุรกิจเพิ่มความยั่งยืนในการทำธุรกิจพร้อมกับจัดประชุมวิชาการด้านโรคและยา ให้ความรู้ในการจัดการโรคภูมิแพ้และความเจ็บปวด การเลือกใช้ยาฮอร์โมนร้านยา และจัดเสวนาธุรกิจร้านยาไทยสู่ความยั่งยืนโอกาสและความท้าทายในสังคมผู้สูงอายุยุคดิจิทัล
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาให้เภสัชกร้านยามีความเข้าใจในการเขียนแผนธุรกิจร้านยา การจัดการด้านการเงิน และขั้นตอนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
2.เพื่อเสริมศักยภาพเภสัชกรในการประกอบธุรกิจร้านยา
3.ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านวิชาการด้านโรคและยา
คำสำคัญ
การตลาด ,การเงิน ,Allergy ธุรกิจร้านยา ,Beneficial 24+4