ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง รู้ทันการสูงวัย : Smart Kidney (เรารักไต)
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง รู้ทันการสูงวัย : Smart Kidney (เรารักไต)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-013-05-2567
สถานที่จัดการประชุม ประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom
วันที่จัดการประชุม 23 -24 พ.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สนใจ จำนวน 150 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 7 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคไตเป็นปัญหาทางระบบสาธารณสุขที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ โดยอุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคไตในประเทศไทยนั้นพบว่ามีสูงถึงประมาณ 11.6 ล้านคน และติด 1 ใน 5 อันดับของประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงสุด ซึ่งแนวโน้มของผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคในกลุ่ม Noncommunicable diseases (NCDs) อาทิ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำให้ไตบาดเจ็บ เช่น การรับประทานอาหารเค็ม การใช้ยา NSAIDs การใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือการได้รับสารเคมีโลหะหนัก โดยมีการรายงานว่าในปี 2565 พบ 1 ใน 25 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลายเป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังรายใหม่
จากสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่ดำเนินเข้าสู่สังคมสูงวัยส่งผลให้จำนวนของผู้สูงอายุมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในทุกประเทศ ซึ่งผลพวงจากการมีอายุที่ยืนนานขึ้น ส่งผลให้ไตซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากในการกรองและขับของเสียออกจากร่างกาย ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ รวมถึงควบคุมสมดุลกรด-ด่าง ทำงานได้ลดลง นอกจากนี้การมีอายุที่ยืนนานมักจะมาพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของการเกิดโรค NCDs ซึ่งเป็นสิ่งเร้าในการก่อให้เกิดอุบัติการณ์การเกิดโรคตามรายงานข้างต้น โดยประสิทธิภาพการทำงานของไตที่ลดต่ำลง สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น โลหิตจาง ตัวบวม ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง โรคกระดูก ภาวะสับสน และเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดได้
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเห็นสมควรเปิดการประชุมวิชาการในหัวข้อ “รู้ทันการสูงวัย : Smart Kidney เรารักไต” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของไต และสร้างความตระหนักถึงภัยเงียบที่นำไปสู่การเกิดโรคไต รวมถึงการป้องกันการเกิดโรคทั้งในบุคคลที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถใช้ความรู้ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของตนเองและคนใกล้ชิด รวมทั้งประยุกต์องค์ความรู้เพื่อใช้ในการทำงานด้านสาธารณสุขได้
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ร่วมประชุม
1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังและติดตามการทำงานของไตที่ผิดปกติ
2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อม
3. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อม
4. สามารถนำความรู้ที่ได้จาการอบรมไปปฏิบัติและเผยแพร่
คำสำคัญ
รู้ทันการสูงวัย, ภาวะไตเสื่อม, การทำงานของไต
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและการลงทะเบียน บุคคลทั่วไป - ค่าลงทะเบียนหากชำระภายในวันที่ 30 เมษายน 2567 คนละ 700.- บาท - ค่าลงทะเบียนหากชำระหลังวันที่ 30 เมษายน 2567 คนละ 800.- บาท - ลงทะเบียนและชำระเงินได้ภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ศิษย์เก่า - ค่าลงทะเบียน คนละ 700.- บาท - ลงทะเบียนชำระเงินได้ภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-462266-0 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการภาควิชาสรีรวิทยา พร้อมแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนลงในระบบลงทะเบียนเพื่อการตรวจสอบ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าร่วมอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียน จากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0409.6/ว95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2549 และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 0-2644-8703 Email: narumon.sak@mahidol.ac.th หน่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 087-5597393 Email: supattra.kon@mahidol.ac.th งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล งานคลังและพัสดุ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล