|
2024 Oncology Pharmacotherapy “BCOP Spotlight Series, Episode II” เรื่อง Gynecologic Malignancies (Endometrial, Ovarian and Cervical cancers)
ชื่อการประชุม |
|
2024 Oncology Pharmacotherapy “BCOP Spotlight Series, Episode II” เรื่อง Gynecologic Malignancies (Endometrial, Ovarian and Cervical cancers) |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1017-2-000-006-06-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ณ ห้องประชุม M1 ชั้น 21 อาคาร A โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงเทพมหานคร |
วันที่จัดการประชุม |
|
14 มิ.ย. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และเภสัชกรบุคลากรภายนอกที่สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
3 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
แม้การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันจะเป็นยุคของ Precision Medicine และมีการพัฒนายาพุ่งเป้าออกมามากมาย แต่โรคมะเร็งก็ยังเป็นสาเหตุการตายในอันดับ 2 ของโลก (2019) และเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในปัจจุบัน ในประเทศไทยพบว่ามะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับ 1-5 ตามลำดับ (Globocan 2020) มาตรฐานในการรักษาโรคมะเร็งยังประกอบด้วยหลายๆ การรักษาร่วมกันตั้งแต่ การผ่าตัด รังสีรักษา และการให้ยาเคมีบำบัด การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดและยาพุ่งเป้า และมีวิธีการรักษาเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองหรือมีข้อบ่งชี้ในการรักษา เช่น การปลูกถ่ายไขกระดูกเป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาและสามารถใช้ยาเพื่อให้ได้รับประสิทธิผลและความปลอดภัยสูงสุดในการรักษา บทบาทของเภสัชกรในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแต่การเตรียมยาเคมีบำบัดด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ แต่ยังเป็นการร่วมให้การดูแลผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับของสหสาขาวิชาชีพมากยิ่งขึ้น
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นเนล เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ซึ่งรองรับผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยรับผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคมะเร็งเฉลี่ย 75 คนต่อวัน และรับผู้ป่วยในเฉลี่ย 30 คนต่อวัน การวางแผนการรักษาผู้ป่วยโดยเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary care) เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา พยาบาล เภสัชกร นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง
ฝ่ายเภสัชกรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดให้มีการอบรม เพิ่มพูนความรู้และทักษะในความรู้ทางเภสัชบำบัดด้านโรคมะเร็งสำหรับเภสัชกรในทุก ๆ ปีและในปีนี้เพิ่มเติมเนื้อหามากขึ้น เพื่อเตรียมเภสัชกรสำหรับความเชี่ยวชาญพิเศษ คือ สอบเฉพาะทางของเภสัชกรโรคมะเร็ง เภสัชกรสามารถเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็ง มาตรฐานการรักษาในปัจจุบัน ทั้งการให้ยาเคมีบำบัดและยาที่ออกฤทธิ์พุ่งเป้า เสริมความรู้ที่เป็นปัจจุบัน สามารถที่จะประยุกต์ใช้ความรู้ทางเภสัชบำบัด นำไปสู่การทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อผู้ป่วยสูงสุด
วัตถุประสงค์
1.อธิบายปัจจัยเสี่ยง พยาธิกำเนิด พยาธิสรีรวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างอาการและอาการแสดง ค่าทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการประเมินผลการรักษาและการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (AML, ALL), มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (CML, CLL)มะเร็งของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Sarcoma), มะเร็งนรีเวชวิทยา (รังไข่ มดลูกและปากมดลูก: Gynecologic Malignancies), มะเร็งในเด็ก (Pediatrics Cancer), มะเร็งสมองและโพรงหลังจมูก (Head and Neck Cancer) สามารถบอกถึงการรักษาด้วยยาที่เหมาะสมของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ (โดยเฉพาะยาที่เพิ่งได้รับการอนุมัติจาก US FDA 2018-2024)
2.สามารถประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาพุ่งเป้า Pharmacogenomic in Oncology การพัฒนายารักษามะเร็งและสถิติทางการแพทย์ (Research Design, Statistics and Evaluating Oncology Literature) ได้
3.สามารถบอกถึงปัญหาในการใช้ยา (Drug related problems, DRPs) และแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหา (Supportive Cares) รวมทั้งการให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ยารักษาโรคมะเร็งและมีผลเสียน้อยที่สุด
4.สามารถให้คำแนะนำเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือคำแนะนาสำหรับการคัดกรองโรคมะเร็งได้
คำสำคัญ
2024 Oncology Pharmacotherapy “BCOP Spotlight Series, Episode II” ,Gynecologic Malignancies (Endometrial, Ovarian and Cervical cancers)
วิธีสมัครการประชุม
amornratc@bumrungrad.com
|