(online) Introduction to biological products, regulatory requirements and currently registered biological products in Thailand
ชื่อการประชุม |
|
(online) Introduction to biological products, regulatory requirements and currently registered biological products in Thailand |
สถาบันหลัก |
|
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
|
2004-2-000-002-02-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ZOOM Application |
วันที่จัดการประชุม |
|
29 ก.พ. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในทุกหน่วยงานที่สนใจการผลิต การควบคุมคุณภาพ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตำรับยาชีววัตถุ ผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ/GMP |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
2 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยซึ่งมีโอกาสสูงที่ผู้สูงวัยจะเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดเนื่องจากสภาวะความเสื่อมของระบบต่างๆของร่างกาย เช่น โรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ไตล้มเหลว จอประสาทตาเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อเสื่อม รวมถึงปัญหาจากโรครุนแรงอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเหล่านี้เป็นโรคที่รุนแรงและต้องรักษาเป็นระยะเวลายาวนานโดยต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ยาที่ให้ผลดี ตรงเป้าหมายซึ่งทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าในการบำบัดรักษาโรคเหล่านี้คือยาชีววัตถุ มูลค่าทางการตลาดของยาชีววัตถุทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นและแนวโน้มในอนาคตคาดว่าอัตราการเติบโตด้านการตลาดของยาชีววัตถุจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 2 เท่าของยาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี หรือเรียกว่ายาที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก (small molecule drugs) ยาชีววัตถุยังใช้กระบวนการผลิตที่แตกต่างจากยาเคมีโมเลกุลเล็กทั่วไป ด้วยเหตุดังกล่าวจึงได้มีข้อกำหนดของหลักเกณฑ์การผลิต การควบคุมคุณภาพและการขึ้นทะเบียน ที่จำเพาะและมีความแตกต่างจากยาเคมีอย่างนัยสำคัญ
วัตถุประสงค์
• เพื่อเรียนรู้ ความหมายและประเภทของยาชีววัตถุ (biological products)
• เพื่อเรียนรู้ ข้อกำหนดหลักเกณฑ์การผลิต การควบคุมคุณภาพ และการขึ้นทะเบียนตำรับ
• เพื่อทราบสถานการณ์การจดทะเบียนตำรับยาชีววัตถุที่ผลิตในประเทศและนำเข้ายาชีววัตถุของประเทศไทย
คำสำคัญ
biological product, small molecule drugs, macromolecules
วิธีสมัครการประชุม
วิทยากร : ผศ.ดร.ภญ.รจพร วัชโรทยางกูร ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเภสัชกรรมอุตสาหการแห่งประเทศไทย
ดร.ภก.ชัชช์กุญช์ เตชะกิตติโรจน์ กลุ่มผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงและชีววัตถุ กองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ค่าลงทะเบียน : สมาชิก TIPA ฟรี / บุคคลทั่วไป 535 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %)
เภสัชกรที่เข้าสัมมนาและผ่านการทดสอบจะได้รับ 2 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง