ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับเภสัชกร (ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567)
ชื่อการประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับเภสัชกร (ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-015-01-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมอวานี จังหวัดขอนแก่น
วันที่จัดการประชุม 11 ม.ค. 2567 - 08 มี.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การดำเนินงานด้านวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติในฐานะหน่วยงานกลางด้านวัคซีนของประเทศ และองค์กรภาคีเครือข่ายด้านวัคซีน ได้จัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งยึดทิศทางของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะนำประเทศไปสู่ความมั่นคง
มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศและประชาชน โดย สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ในการจัดการวัคซีนให้มีความเพียงพอและต่อเนื่อง โดยการวิจัยพัฒนาวัคซีนเพื่อต่อยอดสู่การผลิต การส่งออก และการบริหารจัดการทรัพยากรด้านวัคซีนของประเทศ สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในประเด็น 1 ความมั่นคง ประเด็น 4 อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ประเด็น 13 การเสริมสร้างให้คนไทย มีสุขภาวะที่ดี และประเด็น 20 การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ สอดคล้องกับกรอบแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 องค์ประกอบที่ 1 เศรษฐกิจ มูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในหมุดหมายที่ 4 ศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง โดยมีการลงทุนวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และ เทคโนโลยีขั้นสูง และองค์ประกอบที่ 4 ปัจจัยสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศ ในหมุดหมายที่ 12 กำลังคน มีสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต และหมุดหมายที่ 13 ภาครัฐที่มีสมรรถนะสูง นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับแผนอื่น ๆ ได้แก่ แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ทั้งนี้ เพื่อให้ ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเป็นธรรมและทันการณ์ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน โดยส่งเสริมให้เกิด การบูรณาการระบบบริหารจัดการวัคซีน เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในประเทศไทยได้รับวัคซีนพื้นฐาน วัคซีนรณรงค์ และวัคซีนเพื่อตอบโต้การระบาดอย่างครอบคลุม รวมทั้งการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบ ฐานข้อมูลที่สามารถรองรับการกระจายและการติดตามการใช้วัคซีนพื้นฐาน/วัคซีนรณรงค์/วัคซีนเพื่อตอบโต้ การระบาด ระบบการตอบสนองกรณีเกิดอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน และการเพิ่มประสิทธิภาพ กลไกการนำวัคซีนใหม่บรรจุในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ทำให้สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน แต่ก็ยังพบการระบาดของโรคคอตีบและโรคหัดอยู่เป็นระยะ ประกอบกับลักษณะทางระบาดวิทยาของการเกิดโรคมีมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในผู้ใหญ่มากขึ้น รวมทั้ง เชื้อโรคสามารถติดต่อและแพร่กระจายไปสู่ประเทศต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง จึงต้องมีการให้วัคซีนเสริมแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นการป้องกันก่อนการเกิดโรค และการควบคุมโรคเมื่อมีการระบาด ดังนั้น เพื่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และเป็นการป้องกันไม่ให้โรคติดต่อที่มีแนวโน้มลดลงหรือหมดไปแล้วกลับมาระบาดใหม่ จนเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ
การฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านวัคซีน จัดทำขึ้นเพื่อให้เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านวัคซีนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับเภสัชกร รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในหน่วยงานและพื้นที่ได้จริง เนื่องจากเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านวัคซีนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการอบรมในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและการบริหารจัดการด้านวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น ดังนั้น สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น จึงควรดำเนินงานสนับสนุนให้เครือข่ายสามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในหน่วยงานและพื้นที่ได้ด้วยตนเอง มีการพัฒนาศักยภาพ และองค์ความรู้ในด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและควบคุมโรคในระดับพื้นที่ได้อย่างเข้มแข็งต่อไป
วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาศักยภาพเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านวัคซีนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับเภสัชกร
2) เพี่อให้เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านวัคซีนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในหน่วยงานและพื้นที่ได้จริง
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
Online