ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง Alternative solutions to increase access to high-cost care: Where are we?
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง Alternative solutions to increase access to high-cost care: Where are we?
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-045-11-2566
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมคราวน์พลาซ่า กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 15 ธ.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรบริษัทยา เภสัชกรร้านยา และเภสัชกรโรงพยาบาล และผู้สนใจทั่วไ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล

สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสิทธิการรักษาที่ถูกจัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2545 โดยครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทย ทำให้ประชากรชาวไทยได้เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงพยายามเพิ่มการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จึงมีการประยุกต์ใช้การประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพ (Health Technology Assessment (HTA)) โดยได้ก่อตั้งโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP)) ในปีพ.ศ. 2550 เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และวิเคราะห์ผลกระทบงบประมาณหากนำยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติและให้มีการเบิกจ่ายยาในประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับช่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบายร่วมกับข้อมูลประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา

ในปัจจุบัน การรักษารวมถึงยาส่วนใหญ่มีราคาสูงขึ้นร่วมกับงบประมาณของประเทศที่มีจำกัด ทำให้การรักษาหรือยาบางส่วนที่มีราคาแพงไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และมีผลกระทบทางงบประมาณที่สูง ส่งผลให้การรักษานั้นไม่ถูกบรรจุเข้าไปในบัญชียาหลักแห่งชาติและไม่สามารถเบิกจ่ายได้ ทำให้ความจำเป็นทางสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนอง (Unmet health need) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากค่าความเต็มใจที่จะจ่าย (Willingness-to-pay (WTP) threshold) ของประเทศไทยอยู่ที่ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ (Quality-adjusted life year (QALY)) จึงต้องมีการต่อรองราคายา เช่น ลดราคายา เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้มากขึ้น โดยการลดราคายาอาจสูงถึงร้อยละ 90 เพื่อให้ยาหรือการรักษามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ส่งผลให้มียาราคาแพงเพียง 9 ชนิดเท่านั้นที่ได้ถูกบรรจุเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติในปีพ.ศ. 2559 เมื่อกระบวนการปกติในการพิจารณายาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติอาจทำให้เกิดความล่าช้าและอาจทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาราคาแพงล่าช้า จึงจำเป็นต้องพัฒนาแนวทางเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาและการรักษาราคาแพงในประเทศ โดยต้องพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
ในการนี้ ภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ และวิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องการเข้าถึงการรักษาราคาแพงในประเทศไทยร่วมกับพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาสำหรับประเทศไทยในการเพิ่มการเข้าถึงการรักษาราคาแพงให้แก่ผู้ป่วย จึงได้นำเสนอการจัดอบรมวิชาการ ในรูปแบบบรรยาย ทั้งนี้เนื้อหาจะครอบคลุมความรู้พื้นฐาน และความรู้ แนวลึก โดยมีคณาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญ เข้าร่วมเป็นวิทยากรการบรรยาย และการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์

อธิบายหลักการพื้นฐานของการเพิ่มการเข้าถึงการรักษาราคาแพงในประเทศไทย
ความสำคัญและกระบวนการเพิ่มการเข้าถึงการรักษาราคาแพงในไทยและต่างประเทศ
อภิปรายสถานการณ์ปัจจุบัน ช่องว่าง และการแก้ปัญหาเรื่องการรักษาราคาแพงในประเทศไทย
อภิปรายทิศทางในอนาคตของการเพิ่มการเข้าถึงการรักษาราคาแพงในประเทศไทย

คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถเลือกลงทะเบียนตามช่วงเวลาและเนื้อหาที่สนใจ ได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฝ่ายวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (www.ce.pharm.chula.ac.th) โทรศัพท์ 0-2218-8283 หรือ E-mail: ce@pharm.chula.ac.th อัตราค่าลงทะเบียนท่านละ 5,000 บาท