การประชุมวิชาการ Empowering Pharmacists: Navigating MASLD and Cardiovascular Risk Reduction
ชื่อการประชุม |
|
การประชุมวิชาการ Empowering Pharmacists: Navigating MASLD and Cardiovascular Risk Reduction |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
รหัสกิจกรรม |
|
1013-2-000-010-11-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรม Chatrium Grand Bangkok |
วันที่จัดการประชุม |
|
19 พ.ย. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรร้านขายยาที่สนใจจำนวน 70-130 ท่าน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
3 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases, CV disease) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดกับระบบหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นของคนไทย ในแต่ละปีจะมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้ถึง 54,530 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยสามในสี่ของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งหมดเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular diseases) และโรคหัวใจขาดเลือด (ischaemic heart diseases) ซึ่งเกิดจากการที่หลอดเลือดตีบตันหรือขาดความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุที่บริเวณผนังหลอดเลือด
ในปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองสุขภาพโดยค้นหาปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวด้วยการประเมิน ความเสี่ยงโดยรวม (global risk score) ซึ่งเป็นการประเมินปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยพร้อมๆ กันเพื่อท านาย โอกาสเกิดโรคภายในอนาคตข้างหน้า โดยปัจจัยเสี่ยงที่ส าคัญและมีหลักฐานทางวิชาการว่าสัมพันธ์กับการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือ ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ เช่น อายุ เพศ ประวัติครอบครัว และ เชื้อชาติ ประเภทที่สองเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันชนิดโคเลสเตอรอลรวมสูง ระดับไขมันชนิดเอชดีแอลต่า ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะอ้วนและ การสูบบุหรี่อีกทั้งการเป็นโรคร่วม ได้แก่ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation โรคข้อ อักเสบรูมาตอยด์ และภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโต ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เช่นกัน
ส่วน Metabolic Dysfunction-Associated Steatotic Liver Disease (MASLD) โรคไขมันพอกตับ คือภาวะความผิดปกติของตับ อันเกิดจากการสะสมของไขมันในเซลล์ตับที่มีปริมาณมาก โดยการเกิดภาวะไขมันพอกตับนั้นมีความสัมพันธ์กับ ภาวะน้ำหนักเกิน และไขมันในเลือดสูง หรือน้ำตาลในเลือดสูง ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ภาวะไขมันพอกตับนั้นอาจไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อตับโดยตรง อย่างไรก็ดีผู้ป่วยราวหนึ่งในสามอาจมีการอักเสบของตับได้ (Nonalcoholic steatohepatitis หรือ NASH) ซึ่งหากการอักเสบภายในตับนี้เกิดขึ้นอย่างซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานจะนำไปสู่การสะสมของพังผืด (fibrosis) ที่เกิดจากการซ่อมแซมความเสียหายภายในตับ และเมื่อพังผืดเหล่านี้สะสมในปริมาณมากก็จะนำไปสู่ภาวะตับแข็ง (cirrhosis) ในอนาคต รวมทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะมะเร็งตับ (Liver Cancer) อีกด้วย
อย่างไรก็ดีแม้จะมีผู้ป่วยไขมันพอกตับเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่มีภาวะตับอักเสบ แต่การมีภาวะไขมันพอกตับนี้จัดเป็นความเสี่ยงหนึ่งของภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีภาวะน้ำหนักเกิน รวมถึงมีโรคที่เพิ่มความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เป็นต้น
และเนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงไขมันพอกตับมีความเกี่ยวข้องกัน ดังนั้น การได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลสุขภาพของตนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความรุนแรงของและเรื้อรังของโรคได้
ทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เล็งเห็นว่า เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีบทบาทสำคัญต่อการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน ตลอดจนให้คำแนะนำ คำปรึกษา เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว ทางเลือกในการให้การรักษาทั้งการใช้ยา และไม่ใช้ยา รวมถึงเป็นด่านหน้าที่สามารถให้คำปรึกษา ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคทั้งสองโรคได้ จึงมีการจัดการประชุมวิชาการออนไลน์ขึ้น ในหัวข้อเรื่อง Empowering Pharmacists: Navigating MASLD and Cardiovascular Risk Reduction เพื่อให้เภสัชกรได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะทางวิชาชีพในประเด็นดังกล่าว
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจถึงคำจำกัดความของ CV disease และ MASLD
2. เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการรักษาทั้งแบบที่ใช้ยา และไม่ใช้ยา เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง และ เหมาะสม
3. สามารถให้คำแนะนำ คำปรึกษา เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงไขมันพอกตับได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
คำสำคัญ
โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไขมันพอกตับ ไขมันในเลือดสูง
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนผ่านทางลิงค์