ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เรื่อง Clinical Pharmacy Conference: Spotlight on Special Populations (SSP)
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เรื่อง Clinical Pharmacy Conference: Spotlight on Special Populations (SSP)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-001-03-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม 302 อาคารเทพรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่จัดการประชุม 06 -08 มี.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สนใจ จำนวน 300 คน (ไม่รับลงทะเบียนหน้างาน)
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 17.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
งานบริบาลทางเภสัชกรรม (pharmaceutical care) เป็นความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรง ในยาที่ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับ เพื่อมุ่งหวังให้ได้ผลการรักษาตามเป้าหมาย ลดอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่ในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ (special populations) หรือแตกต่างจากประชากรทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นหญิงตั้งครรภ์, เด็ก, ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยในหอวิกฤต หรือกลุ่มประชากรที่มีน้ำหนักตัวผิดปกติ มักมีเภสัชจลนศาสตร์ที่แตกต่างไปจากประชากรทั่วไป ดังนั้นการปรับการรักษาและการใช้ยาให้เหมาะสมและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ การประชุมวิชาการ Clinical Pharmacy Conference: Spotlight on Special Populations (SSP) จึงจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบเกี่ยวกับ ความรู้เภสัชจลนศาสตร์พื้นฐานในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ เพื่อสามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์ในการประกอบการใช้ยาอย่างสมเหตุผล แนวทางในการค้นหาข้อมูลสำหรับผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะมีบุตรยาก (Infertility) ภาวะผิดปกติที่พบบ่อยระหว่างการตั้งครรภ์ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ยาหรือวิตามินที่ใช้ระหว่างตั้งครรภ์ ยาหรือสมุนไพรกระตุ้นการหลั่งน้ำนม การคาดคะเนการผ่านของยาไปสู่น้ำนมแม่ ความผิดพลาดทางยาที่พบบ่อยในผู้ป่วยทารกแรกเกิด การใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เหมาะสมสำหรับการรักษาโรคติดต่อทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยเด็ก การเลือกใช้นมผงอย่างเหมาะสมสำหรับเด็ก การคัดกรองและการรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะน้ำหนักตัวผิดปกติ การประเมินแพ้ยาในผู้ป่วยเด็กและบทบาทความรู้ด้านเภสัชพันธุศาสตร์ วัคซีนสำหรับผู้ป่วยเด็กที่นอกจากวัคซีนพื้นฐาน ข้อควรระวังในการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวผิดปกติ และในผู้สูงอายุ ทั้งนี้ความรู้ที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับจะช่วยในการปฏิบัติงานให้เกิดผลการรักษาแก่ผู้ป่วยตามที่คาดหวังและปลอดภัยอย่างสูงสุด
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถ
1. ฟื้นความรู้เภสัชจลนศาสตร์พื้นฐานของผู้ป่วยกลุ่มพิเศษและนำหลักทางเภสัชจลนศาสตร์ไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจใช้ยาอย่างเหมาะสมในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ
2. ประเมินความเหมาะสมของการใช้ยา การวางแผนการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น
3. ให้คำปรึกษาทางยาแก่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย เพื่อนำไปสู่การเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ
คำสำคัญ
งานบริบาลทางเภสัชกรรม, SSP
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและลงทะเบียน สมัครพร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-450910-5 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการเภสัชกรรมคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม scan และแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงิน ค่าลงทะเบียน การร่วมประชุมที่คณะเภสัชศาสตร์ (onsite) 3,500 บาทต่อคน สำหรับศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับส่วนลดค่าลงทะเบียน 500 บาท ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมได้โดยไม่ถือเป็นวันลาเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.6/ ว 95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน สอบถามข้อมูล ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ - หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ ที่โทรศัพท์หมายเลข 087-559-7393 - อ.สุวิดา ตั้งตระกูลธรรม, คุณพิณพิศ แสงเภา, คุณพูนทรัพย์ มี้เจริญ, ที่โทรศัพท์/โทรสารหมายเลข 0-2644-8694, E-mail: mupyclin.conference@gmail.com, supattra.kon@mahidol.ac.th