การประชุมวิชาการ
การรักษาโรคเครียด วิตกกังวล และนอนไม่หลับในร้านยา Stress, Anxiety and Insomnia Management in Community Pharmacy (รุ่นที่ 2)
ชื่อการประชุม การรักษาโรคเครียด วิตกกังวล และนอนไม่หลับในร้านยา Stress, Anxiety and Insomnia Management in Community Pharmacy (รุ่นที่ 2)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-043-10-2566
สถานที่จัดการประชุม การบรรยายวิชาการผ่านระบบอนไลน์ (Webinar)
วันที่จัดการประชุม 26 พ.ย. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรร้านยาและเภสัชกรที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เภสัชกรชุมชน เป็นบทบาทสาคัญในการให้บริการและบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ประชาชนในชุมชน ถือเป็นการให้บริการทางด้านสุขภาพที่ประชาชนมาสมารถเข้าถึงได้ง่ายเป็นอันดับต้นๆ ความรู้ความสามารถในการประเมินและจัดการกับโรคที่พบได้บ่อยจึงเป็นทักษะที่จำเป็น ปัจจุบันประชาชนมีการเผชิญหน้ากับปัญหาของปัญหาเศรษกิจและสังคมต่างๆ ส่งผลให้มีอัตราการเกิดโรคทางด้านระบบประสาทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการเครียด อาการวิตกกังวล นำมาสู่ภาวะโรคนอนไม่หลับ
โรควิตกังวลอาจเกิดจากสถานการณ์ ณ ขณะหนึ่งที่คนไข้กำลังเผชิญหน้าอยู่ ซึ่งโรควิตกกังวลอาจนำไปสู่การแสดงออกต่างๆ ทางด้านร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบเหนื่อย สายตาพร่ามัว เป็นต้น ด้านความคิด เช่น กังวลเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลงๆลืมๆ เป็นต้น หรือด้านพฤติกรรม เช่น การตัดสินใจเผชิญหน้า หลีกหนีปัญหา การใช้สุราหรือสารเสพติด เป็นต้น ซึ่งหากเภสัชกรชุมชนวิเคราะห์โรคไม่ละเอียดมากเพียงพอ อาจวินิจฉัยโรคหรือหาสาเหตุที่แท้จริงไม่เหมาะสมเพียงพอ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเข้ามาใช้บริการในร้านยาและหวังจะได้การรักษาที่ได้ผลกลับไป
โรคนอนไม่หลับเป็นอีกปัญหาสำคัญที่พบบ่อย และควรได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นอย่างละเอียด เพื่อพิจารณาหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ ซึ่งอาการนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ปัจจัยทางร่างกาย ปัจจัยทางจิตใจ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและอุปนิสัยการนอน (sleep hygiene) ซึ่งหาไม่แก้ไขปัญหาให้ดี อาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะโรคนอนไม่หลับเรื้อรังได้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองและร่างกายลดลงได้
ทั้งนี้เภสัชกรชุมชมยังขาดความรู้ความมั่นใจในการเลือกจ่ายยารักษาโรคทางด้านระบบประสาท โดยเฉพาะโรควิตกกังวลและโรคนอนไม่หลับจำนวนมาก จึงต้องอาศัยข้อมูลวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญและหลักฐานเชิงประจัก เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาและแนวทางการรักษา รวมถึงการให้คำแนะนำกับคนไข้ในการปฏิบัติตัว เพื่อรับมือได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยในร้านยา
ดังนั้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการและกลไกการเกิดโรคดังกล่าวจึงสำคัญ เพื่อเภสัชกรประจำร้านยาจะสามารถพูดคุยและให้คำแนะนำแก่คนไข้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ความรู้ในการเลือกแนะนำยาหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถจ่ายได้ในร้านยาก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้กับผู้ที่มาใช้บริการ ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพในการใช้ยา และส่งเสริมบทบาทของเภสัชกรร้านขายยาในชุมชน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้ความเข้าใจกลไกการเกิดอาการทางด้านประสาท และสามารถประเมินความรุนแรงของโรควิตกกังวลและโรคนอนไม่หลับ
เพื่อให้เภสัชกรสามารถวินิจฉัยและให้การรักษาเบื้องต้นสำหรับโรควิตกกังวลและโรคนอนไม่หลับ
เพื่อให้เภสัชกรสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ยาหรือการรักษา และให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ https://www.ce.pharm.chula.ac.th/ โทรศัพท์ 0-2218-8283 หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: CE@pharm.chula.ac.th