ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้ประโยชน์โพรไบโอติกและการประเมินคุณสมบัติด้วยผลการวิเคราะห์จีโนม (Application of Probiotics and Property Evaluation using Genomic)
ชื่อการประชุม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้ประโยชน์โพรไบโอติกและการประเมินคุณสมบัติด้วยผลการวิเคราะห์จีโนม (Application of Probiotics and Property Evaluation using Genomic)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-041-10-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่จัดการประชุม 21 -22 ธ.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 9.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โพรไบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์และสัตว์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยการนำมาเติมในอาหารหรือใช้รับประทานเพื่อช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ของเจ้าบ้าน (host) โพรไบโอติกเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมและดูแลสุขภาพ และได้มีการศึกษาอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการติดเชื้อ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคที่รุนแรง แบคทีเรียกรดแลกติกที่เป็นโพรไบโอติกมีความสามารถสร้างสารแบคเทอริโอซินและกรดออร์แกนิคที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อก่อโรค และไม่มีการเหนี่ยวนำให้เกิดการดื้อยา ทั้งยังสามารถ ปรับระดับภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงการป้องกันการบุกรุก ยึดเกาะของจุลินทรีย์ก่อโรคอื่น ๆ อีกมากมาย
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกมากมายทั้งชนิดเม็ด ชนิดเหลว และชนิดผง ซึ่งอาจมีส่วนช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคได้ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแบคทีเรียในกลุ่มที่สร้างกรดแลกติก (Lactic Acid Bacteria, LAB) ได้แก่ Lactobacillus species, Bifidobacterium species, Pediococcus species, Lactococcus species และยีสต์ Saccharomyces boulardii ซึ่งจะต้องได้รับการยอมรับจาก องค์การอาหารและยา (The United States Food and Drug Administration, FDA) ว่าเป็นสิ่งที่มีการตรวจสอบ โดยทั่วไปแล้วว่ามีความปลอดภัย (Generally Recognized As Safe: GRAS) กลุ่มแบคทีเรียกรดแลกติกยังมีบทบาททำให้อาหารมีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังสามารถผลิตสารที่เป็นยาปฏิชีวนะ (bacteriocin) ได้ บางชนิดยังสามารถผลิตสารให้กลิ่นรส (diacetyl) กรดแกมมาอะมิโนบิวทิริก (γ-aminobutyric acid, GABA) พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) และสารอื่น ๆ นอกจากนี้กรดแลกติกยังถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ประยุกต์ใช้ในทางเภสัชกรรม งานด้าน อุตสาหกรรมสิ่งทอ และตัวทำละลาย และใช้สังเคราะห์เป็นพอลิเมอร์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ (Polylactic acid, PLA) เป็นพลาสติกชีวภาพ (bioplastic) เพื่อใช้ทดแทนพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเคมี ทำให้ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ด้านโพรไบโอติกแก่นิสิต นักศึกษา นักวิจัย เภสัชกร และผู้สนใจทั่วไป ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในแวดวงการวิจัยแบคทีเรียกรดแลกติก เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้พร้อมทั้งทำการเพิ่มเติมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการผลิต การวิจัยถึงคุณสมบัติและประเมินผลคุณสมบัติโพรไบโอติกด้วยผลจากการวิเคราะห์จีโนมของสายพันธุ์ เพื่อการพัฒนาสายพันธุ์มาตรฐานเชิงอุตสาหกรรม สำหรับประยุกต์ใช้ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

วัตถุประสงค์
1 เพื่อให้เกิดความรู้พื้นฐานการคัดกรอง การพิสูจน์เอกลักษณ์ 2 เพื่อเป็นการสร้างสรรค์องค์ความรู้ในการผลิต การประเมินผลคุณสมบัติและการประยุกต์ใช้โพรไบโอติก
3 เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายและให้เกิดความสัมพันธ์ต่อยอดงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในระดับอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ (https://www.ce.pharm.chula.ac.th/) หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 0-2218-8283 หรือ e-mail: ce@pharm.chula.ac.th