ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรม การสื่อสารสู่ความสำเร็จในงานเภสัชกรรมสำหรับคนทำงานแบบ Digital Nomads (Communication Mastery in Pharmacy Practice for Digital Nomads) (ยกเลิก เนื่องจากมีผู้ลงทะเบียนน้อยกว่า 30 คน)
ชื่อการประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรม การสื่อสารสู่ความสำเร็จในงานเภสัชกรรมสำหรับคนทำงานแบบ Digital Nomads (Communication Mastery in Pharmacy Practice for Digital Nomads) (ยกเลิก เนื่องจากมีผู้ลงทะเบียนน้อยกว่า 30 คน)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-047-12-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่จัดการประชุม 13 -15 ธ.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 17 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอันเนื่องมากจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภค ก่อผลกระทบให้เกิดการแทนที่ (Disruption) ของรูปแบบใหม่ ๆ ต่อภาวะการทำงานที่เปลี่ยนไปในโลกที่เรียกว่า BANI World อันมีลักษณะสำคัญคือ ผู้คนในสังคมมีความเปราะบาง (Brittle) เกิดความเครียดและความกังวล (Anxious) ดูสับสนทำนายคาดเดาได้ยาก (Nonlinear) และยากเกินเข้าใจ (Incomprehensible) ทั้งในมิติขององค์กรและความรู้สึกของผู้ปฎิบัติงาน ทำให้จำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น เพราะถือเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนางานด้านบริการสุขภาพและการบริบาลทางเภสัชกรรมที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centered) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการระบาด COVID-19 ได้มีการนําเทคโนโลยีการสื่อสารระบบดิจิทัลเพื่อเอื้อให้ผู้คนสามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตการทํางานจากที่บ้าน (work from home) ซึ่งแนวโน้มการทํางานจากระยะไกล (remote) กําลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้สถานการณ์การระบาด COVID-19 จะคลี่คลายลงแล้วก็ตาม จนถึงขนาดที่คนทำงานในหลายองค์กรต้องการละทิ้งวัฒนธรรมการทํางานในรูปแบบเดิม ๆ ที่ต้องประจำการอยู่แต่ภายในสำนักงาน
ทั้งนี้ พบว่ากระแสความนิยมวิถีชีวิตการทํางานจากระยะไกลมีมาตั้งแต่ช่วงก่อนการระบาด COVID-19 โดยได้มีกลุ่มคนที่ทำงานแบบที่เรียกว่า Digital Nomads ซึ่งหมายถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ชื่นชอบการใช้ชีวิตอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก พร้อมกับการทำงานไปด้วยจากระยะไกลผ่านทางระบบออนไลน์ จึงมีอิสระจากข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่ ส่วนใหญ่ผู้ประกอบอาชีพในลักษระเช่นนี้มักมีรายได้สูง เช่น ที่ปรึกษาด้านการตลาด ด้าน E-commerce การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ออกแบบกราฟิก วิเคราะห์ข้อมูล สื่อสารการตลาด ฯลฯ โดยจากข้อมูลการสำรวจ Global Mobile Workforce Forecast ในปี 2017 พบว่ามี Digital Nomads จํานวนมากถึง 1.52 พันล้านคนทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งคาดว่าจะเห็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนถึง 43.3% ของแรงงานทั่วโลกทั้งหมดในไม่ช้านี้ โดยกลุ่มคนทำงานที่เป็น Digital Nomads นี้จะประสงค์ทำงานผ่านระบบออนไลน์เป็นหลัก และใช้ชีวิตแบบไม่เป็นหลักเป็นแหล่งกระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก โดยประเทศไทยถือว่าเป็นเป้าหมายในอันดับต้น ๆ ของการเดินทางย้ายถิ่นฐานมาพักอาศัยและทำงานไปด้วยสำหรับกลุ่ม Digital Nomads ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสในการพัฒนาบทบาทของเภสัชกรเพื่อสามารถเข้าถึงและให้บริการด้านเภสัชกรรมได้อย่างมีคุณภาพน่าประทับใจ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้มารับบริการกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ซึ่งนอกจากเภสัชกรจะต้องมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการทำงานตามบทบาทวิชาชีพเภสัชศาสตร์แล้ว ยังจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้มารับบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรกลุ่ม Digital Nomads ที่มีความหลากหลาย เพื่อสามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจนให้เกิดความปลอดภัยในการดูแลสุขภาพ และสะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพตามธรรมเนียมปฎิบัติที่เป็นมารยาทสากล อีกทั้งยังสร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตนเอง องค์กรธุรกิจ ตลอดจนวิชาชีพเภสัชกรรมด้วย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความตระหนักเข้าใจถึงพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่ม Digital Nomads ในภูมิทัศน์การดูแลสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในยุค BANI World
2.เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมสร้างสรรค์นวัตกรรมการสื่อสารด้านบริการเภสัชกรรมที่ตรงความต้องการของผู้รับบริการกลุ่ม Digital Nomads อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
Digital,Communication,Pharmacy Practice
วิธีสมัครการประชุม
Online