ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เภสัชบำบัดสำหรับโรคเมตาบอลิกและโรคความเสื่อมในผู้สูงอายุเขตเมือง Pharmacotherapy for Metabolic and Degenerative disease in Urban Elderly
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เภสัชบำบัดสำหรับโรคเมตาบอลิกและโรคความเสื่อมในผู้สูงอายุเขตเมือง Pharmacotherapy for Metabolic and Degenerative disease in Urban Elderly
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-044-11-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 04 พ.ย. 2566
ผู้จัดการประชุม โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
กลุ่มเป้าหมาย พนักงานมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และบุคลากรทางการแพทย์ของหน่วยงานภายนอก
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี2560 ประชากรไทยมีจานวน 67.6 ล้านคน มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป 11.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรทั้งหมด จากข้อมูลของณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย ในเวปไซด์ รายงานสุขภาพคนไทน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=155) ระบุว่าในปี 2565 ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) แล้ว โดยมีประชากรอายุมากกว่า 60 ปี กว่า 12.9 ล้านคน หรือ 20% จากประชากรทั้งหมด และมีการคาดประมาณว่าในอีกไม่เกิน 15 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” (super aged society) เมื่อสัดส่วนของประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีสูงถึง 28% ของประชากรทั้งหมด โดยประเทศไทยมีนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ได้แก่ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปประเทศ และแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมผู้สูงอายุให้สามารถพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ เป็นต้น
ในส่วนของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลซึ่งเป็นสถาบันทางการแพทย์ที่มีจุดเน้นเรื่องการดูแลด้านสุขภาพโรคเขตเมือง ดังนั้น ฝ่ายเภสัชกรรมจึงมุ่งส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรในองค์กรและในกรุงเทพมหานครเรื่องการใช้ยาในการบำบัดรักษาโรคเขตเมือง โดยหนึ่งในโรคที่พบบ่อยของผู้สูงอายุ คือที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคทางระบบประสาทและสมอง ซึ่งอาจเป็นโรคพื้นฐานที่ส่งผลกระทบต่อโรคเรื้อรังด้านเมทาบอลิซึมของผู้สูงอายุ และยังเป็นโรคที่มีความซับซ้อน การใช้ยารักษาก็อาจส่งผลแทรกซ้อนต่อผู้สูงอายุอีกด้วย ดังนั้น ฝ่ายเภสัชกรรมเห็นความสำคัญในการเพิ่มพูนความรู้เฉพาะด้านการบำบัดรักษาและการจัดการกับผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการรักษาโรคดังกล่าว จึงได้จัดการประชุมวิชาการโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลรักษาผู้สูงอายุกลุ่มโรคดังกล่าว เพื่อเสริมสมรรถนะด้านความรู้ของบุคลากรเภสัชกรในฝ่ายเภสัชกรรม และ บุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจ อันจะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานและพัฒนางานในองค์กรต่อไป
วัตถุประสงค์
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านการใช้ยารักษาโรคจากความเสื่อมและความผิดปกติของระบบการเมทาบอลิซึมของผู้สูงอายุในเขตเมือง
2 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้วิชาการด้านการใช้ยาในผู้สูงอายุในปัจจุบัน
3 เป็นการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเภสัชกรในหน่วยงาน กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิชาการ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ฝ่ายเภสัชกรรม 02-244-3140