การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข ครั้งที่ 18 หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ
ชื่อการประชุม |
|
การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข ครั้งที่ 18 หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
รหัสกิจกรรม |
|
1002-2-000-041-11-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ |
วันที่จัดการประชุม |
|
01 -03 พ.ย. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
|
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
ผู้บริหาร นักวิชาการ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
13 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program หรือ HITAP) เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจหลัก คือ ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพทั้งทั้งบวกและลบ เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายของภาครัฐ และทำให้การเลือกใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายทางการแพทย์และสาธารณสุขเป็นไปอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ HITAP ยังให้ความสำคัญและดำเนินงานเพื่อการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายทั้งในระดับบุคคล องค์กร และบริบทของระบบสุขภาพ โดยที่ผ่านมา HITAP จัดการอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์แก่บุคลากรทางภาครัฐและเอกชนขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 17 ปี อย่างไรก็ตามเนื้อหาและแบบฝึกหัดของการอบรมได้ถูกพัฒนาให้ทันสมัยทุกปี
การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ดำเนินการโดยทีมวิจัย HITAP ที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญในสาขาดังกล่าว อีกทั้งผลงานวิจัยยังเป็นที่ยอมรับ และได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางทั้งในระดับชาติและนานาชาติ การอบรมจะเน้นทางการบรรยายเกี่ยวกับหลักการ และรายละเอียดของวิธีการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้งแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความเข้าใจ สามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและทำวิจัยได้จริง
การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุขครั้งที่ 18 แบ่งออกเป็น 3 หลักสูตรตามกลุ่มเป้าหมายได้แก่
1 หลักสูตรเบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มาก่อนหรือผู้ที่สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในระดับพื้นฐาน ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วย ความสำคัญ หลักการ องค์ประกอบ แนวทางและขั้นตอนของการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนตัวอย่างการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และแนวโน้มของการประเมินเทคโนโลยีในอนาคต
2 หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ เหมาะสำหรับผู้ที่เคยผ่านการอบรมในหลักสูตรเบื้องต้นหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนี้จะเน้นการปฏิบัติเป็นหลัก ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้ประเภทของแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ การค้นหาข้อมูลและการนำสถิติมาใช้ในแบบจำลอง การสร้างแบบจำลองแผนภูมิ การตัดสินใจ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองมาร์คอฟโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Microsoft Excel) รวมถึงการเรียนรู้จากกรณีตัวอย่างในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีด้านสุขภาพอื่นๆ นอกเหนือจากยา เช่น digital health และเครื่องมือแพทย์
3 หลักสูตรเพื่อการนำไปใช้เชิงนโยบาย เหมาะสำหรับผู้ที่เคยผ่านการอบรมในหลักสูตรเบื้องต้น ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ หรือผู้ที่มีความสนใจนำงานวิจัยประเภทการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health technology assessment: HITAP) มาปรับใช้ในเชิงนโยบาย ซึ่งหลักสูตรนี้จะครอบคลุมเรื่องจริยธรรมในการจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพ การค้นหาหัวข้อการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ การนำข้อมูลของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพไปใช้ในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและบัญชียาหลักแห่งชาติ แนวคิดในการจัดซื้อเทคโนโลยีและการต่อรองราคารวมถึงการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาด (Early HTA) ซึ่งนำเสนอผ่านแนวคิดและประสบการณ์ของผู้ดำเนินงานวิจัย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ องค์ประกอบ แนวทาง และความสำคัญของการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ
2. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และเกิดการประยุกต์ใช้ข้อมูลของงานวิจัยในทางปฏิบัติหรือเชื่อมโยงผลงานวิจัย
ไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย
3. เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและค่าลงทะเบียน
ผู้ที่สนใจสามารถสมัครอบรมผ่านทางระบบลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ http://EEtraining.hitap.net/
หรือสแกน QR code ด้านล่างนี้ ภายในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566 (ไม่รับลงทะเบียนหน้างาน)
หลักสูตร รอบ Early Bird* รอบปกติ รอบนักศึกษา
หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ 13,000 บาท 15,000 6,000
หมายเหตุ: *รอบ Early Bird ปิดรับลงทะเบียนภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 **โควตานักศึกษารับจำนวนไม่เกิน 10 คน
ข้าราชการสามารถเบิกจ่ายค่าลงทะเบียน ค่าเดินทางและค่าที่พักจากหน่วยงานต้นสังกัดได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และสามารถเข้าร่วมประชุมโดยไม่ถือเป็นวันลา นอกจากนี้ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เข้าอบรมครบตามหลักสูตรที่กำหนดสามารถขอรับหน่วยกิต CME, CDEC และ CPE ได้