การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 22 “Updates in Pharmacotherapy of Ageing and Neurodegenerative Diseases”
ชื่อการประชุม |
|
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 22 “Updates in Pharmacotherapy of Ageing and Neurodegenerative Diseases” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-030-11-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรมเรือรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง |
วันที่จัดการประชุม |
|
04 -05 พ.ย. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรโรงพยาบาลเครือข่ายสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
4.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
จากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรที่มีแนวโน้มไปสู่วัยผู้สูงอายุมากขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้ประชากรในประเทศไทยเข้าสู่ภาวะ Aged Society ในไม่ช้า ซึ่งผู้สูงอายุยังมีแนวโน้มที่จะมีโรคเรื้อรังมากกว่าหนึ่งชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ โรคของระบบประสาทและสมองซึ่งเกิดจากการเสื่อมของระบบประสาท โดยการค่อยๆ เสื่อมลงของโครงสร้าง และ/หรือ การทำงานของเซลล์ประสาท ซึ่งรวมไปถึงการตายของเซลล์ประสาทด้วย มี หลายโรคที่เป็นผลมาจากกระบวนการเสื่อมเหล่านี้ เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ และโรคฮันติงตัน โรคเหล่านี้ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลและเกิดภาวะพึ่งพิงสูงขึ้น ซึ่งการใช้ยาโดยเฉพาะในผู้สูงอายุมีข้อจำกัดและซับซ้อนกว่าคนที่มีอายุน้อย นอกจากนี้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวหลายโรคและต้องใช้ยาหลายๆตัวในการรักษา นำไปสู่การเกิดความเสี่ยงด้านยา ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา ปัญหาจากการใช้ยาหลายตัวร่วมกัน ปัญหาในการรับประทานยา การลืมทานยา เภสัชกรซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยา จึงมีส่วนสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยยา เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของเภสัชกร คือ จะต้องให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่าจะได้รับยาที่ปลอดภัยและเหมาะสม มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Rational use of drug) เภสัชกรต้องตรวจสอบดูแลผู้ป่วยแต่ละรายที่รับผิดชอบอยู่เพื่อค้นหาปัญหาการรักษาด้วยยาที่เกิดขึ้น (Actual drug therapy problems) และค้นหาผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาการรักษาด้วยยา (Potential drug therapy problem) เมื่อค้นพบปัญหาการรักษาด้วยยา เภสัชกรจะต้องมีบทบาทหน้าที่ในการแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาดังกล่าว
เภสัชกรโรงพยาบาลในปัจจุบัน จึงต้องให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและในเชิงลึกมากขึ้นโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การพัฒนาความรู้และทักษะในให้การบริบาลเภสัชกรรมจึงมีความสำคัญจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคระบบประสาทและสมองในผู้ป่วยสูงอายุ รวมทั้งมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาทางสุขภาพในระยะยาวและรองรับสังคมผู้สูงอายุต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมอง โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุแก่เภสัชกรโรงพยาบาล
2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมอง โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ
3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมอง โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ
Neurodegenerative Diseases, Alzheimer’s Disease, Parkinson's disease