ชื่อการประชุม |
 |
การประชุมวิชาการ เรื่อง วัคซีนในประเทศไทย |
สถาบันหลัก |
 |
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ |
รหัสกิจกรรม |
 |
0001-2-000-038-10-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
สื่ออิเล็คทรอนิกส์ออนไลน์ Zoom |
วันที่จัดการประชุม |
 |
12 ต.ค. 2566 - 09 พ.ย. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรทั่วไป |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นวิธีการสำคัญในการลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการป่วย และอัตราการเสียชีวิตที่สำคัญ นอกจากนี้ ความครอบคลุมของการได้รับภูมิคุ้มกันโรคจะส่งผลให้เกิด herd immunity ที่จะส่งผลป้องกันการติดเชื้อของบุคคลอื่นในชุมชนที่ไม่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อันเนื่องมาจากมีข้อห้ามทางการแพทย์ เภสัชกรเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ทั้งเภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรชุมชน และเภสัชกรปฐมภูมิ ประกอบกับ สภาเภสัชกรรม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรรม (ฉบับที่ 3) ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นข้อ 16 แห่งข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2561“ข้อ 16 การให้ภูมิคุ้มกันโรคตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและมอบหมายโดยผ่านการฝึกอบรมตามที่สภาเภสัชกรรมประกาศกำหนด” ดังนั้นการอบรมในเรื่องความรู้เกี่ยวกับวัคซีนในประเทศไทย จึงมีความจำเป็น เพื่อเพิ่มศักยภาพของเภสัชกร ให้พร้อมในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ประชาชนต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เภสัชกรผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1) อธิบายถึงวัคซีนชนิดต่างๆ ทั้งข้อบ่งใช้ ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง อาการไม่พึงประสงค์ การติดตามผู้ป่วย
2) อธิบายถึงการเก็บรักษาวัคซีนแต่ละชนิดได้
3) อธิบาย ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาการสร้างเสริมคุ้มกันโรคแก่ผู้ป่วยได้
วิธีสมัครการประชุม
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สภาเภสัชกรรม หรือ ติดต่อ รศ.ภญ.สุณี เลิศสินอุดม โทร/ไลน์ไอดี 081 661 7237