ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการการเพิ่มศักยภาพการวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาและการใช้งานวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลของเครือข่ายเฝ้าระวังฯ ผลิตภัณฑ์อันตราย
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการการเพิ่มศักยภาพการวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาและการใช้งานวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลของเครือข่ายเฝ้าระวังฯ ผลิตภัณฑ์อันตราย
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-2-000-026-09-2566
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ต เชียงใหม่
วันที่จัดการประชุม 21 -22 ก.ย. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในระบบยาและระบบสุขภาพ คณาจารย์ นักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าในหลักสูตร จำนวน 50 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 8.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัญหาเรื่องการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชนในชุมชน เป็นประเด็นที่มีความซับซ้อนที่เกิด จากหลายเหตุหลายปัจจัย ดังตัวอย่างของการใช้ยาปฏิชีวนะในชุมชน สาเหตุของปัญหาเกิดจากหลาย ปัจจัยที่ ไม่ได้จำกัดไว้แต่ในโรงพยาบาลเท่านั้น สาเหตุปัญหามีทั้งในระดับโครงสร้างของประเทศ ที่ประชาชนสามารถ เข้าถึงยาได้จากหลายแหล่ง และในระดับบุคคลที่ประชาชนมีความต้องการในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง แต่ ขาดความรู้ ความตระหนัก และความเข้าใจในการใช้ยา เป็นต้น สถานการณ์ปัญหาการใช้ยา ที่ไม่สมเหตุผล ในชุมชนในยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ก็มีความซับซ้อนเกี่ยวโยงกับหลายปัจจัยในหลายระดับเช่นเดียวกัน ดังนั้น การดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนจึงต้องการ การบูรณาการ ความเชื่อมโยงเครือข่าย การทำงานกับหน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ที่ไม่จำกัดเฉพาะหน่วยงาน ในระบบสาธารณสุขเท่านั้น การทำงาน “เชิงรุก” อย่าง “บูรณาการเชื่อมโยง” ในทุกมิติอย่าง “องค์รวม” กับ หน่วยงานและบุคคลในทุกระดับ ซึ่งเป็นหัวใจของ ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิจึงมีความสำคัญ

จากประสบการณ์การดำเนินโครงการการสร้างกลไกเพื่อการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาภาคเหนือ ในระยะที่ 1 การผลักดันงานเพื่อให้เกิดระบบหรือกลไกในการเฝ้าระวังระบบยา สามารถเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในประชาชน แต่ในสังคมปัจจุบัน ยังคงมีเหตุและหลากหลายปัจจัยที่ก่อให้ เกิดการใช้ยาและผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพอย่างไม่เหมาะสมและไม่ปลอดภัย การสนับสนุนให้หน่วยงานประจำต่าง ๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบดังกล่าว ได้มีการเชื่อมร้อยและนำปัญหาในแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้นในพื้นที่ มาพิจารณาร่วมกัน โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ และนำมาวางแผนการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายต่าง ๆ พัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูล และใช้งานวิจัยติดตาม วัดผล และประเมินผลลัพธ์ ดังนั้น การ พัฒนากำลังคน และขยายเครือข่ายของคนที่มีสมรรถนะในการทำงานร่วมกันอย่างเชื่อมประสาน จึงเป็นส่วน สำคัญในการก้าวไปสู่เป้าหมายของนโยบายด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนและในสังคมได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับเครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบยาและระบบสุขภาพของเภสัชกร
2. เพื่อเสริมทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบและเรียนรู้กระบวนการวิจัยเพื่อใช้ติดตามและประเมินผลลัพธ์
3. เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ และการปฏิบัติงานในระบบยาและระบบสุขภาพร่วมกัน
คำสำคัญ
ผลิตภัณฑ์อันตราย, กพย.
วิธีสมัครการประชุม
ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครที่ https://cpe.pharmacy.cmu.ac.th/conference.php