ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
SGL T21:New aspect of HF mnagement
ชื่อการประชุม SGL T21:New aspect of HF mnagement
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-2-000-012-09-2566
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมกองยุทธศาสตร์และแผนงาน
วันที่จัดการประชุม 05 ก.ย. 2566
ผู้จัดการประชุม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร พยาบาล และบุคลากรทุกท่านที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป�นกลุ่มอาการที่มีลักษณะจําเพาะ ได้แก่ อาการหายใจลําบาก มีภาวะน้ําเกิน แขนขาบวม
และมีอาการเหนื่อยง่าย สามารถออกแรงได้น้อยลง ซึ่งเป�นภาวะความผิดปกติของการทํางานของหัวใจที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไป
เลี้ยงเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยสามารถแบ่งผู้ป่วยออกเป�นกลุ่มตามการบีบตัวของหัวใจ ระบุจากค่า
left ventricular ejection fraction (LVEF) ได้แก่ ผู้ป่วยมีค่า LVEF <40% (HFrEF), LVEF 40-49% (HFmrEF) และ LVEF ≥50%
(HFpEF) จากข้อมูลของ THAI-ADHERE study1 พบว่าในกลุ่มผู้ป่วย acute HF มีอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล 5.5% จาก
การศึกษาโดย รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ และคณะ2 พบว่า จากการติดตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะ acute
decompensated heart failure ในประเทศไทยซึ่งติดตามผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวจํานวนทั้งสิ้น 1,451 ราย พบว่ามีผู้ป่วยถึง 1,064
รายเสียชีวิตในระยะเวลา 10 ป� โดยคิดเป�น overall mortality rate เท่ากับ 73.3% จากการรวบรวมข้อมูล 4 ประเทศ3 พบอัตรา
การเข้านอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวในประเทศไทยอยู่ที่ 49.0% ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยไทย
อยู่ที่ 14.2 วัน จะเห็นได้ว่าภาวะหัวใจล้มเหลวมีผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์และสังคมอย่างมาก ค่าใช้จ่ายรวมเฉลี่ยต่อคนต่อป�ของ
ผู้ป่วยไทยอยู่ที่ $3,513 และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาโดยการนอนโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวต่อคน
ต่อป�ของผู้ป่วยไทย $7,181 ซึ่งสูงเป�นสองเท่าของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งหมด จากความสําคัญดังกล่าว การรักษาภาวะหัวใจ
ล้มเหลวจึงมุ่งเน้นผลลัพท์ที่สําคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) ลดอัตราการเสียชีวิต2) ลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 3) เพิ่มคุณภาพชีวิต
ยาในกลุ่ม SGLT2i ได้แก่ dapagliflozin มีการศึกษาในผู้ใหญ่ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวทั้งที่เป�นเบาหวานและไม่เป�นเบาหวาน
(DAPA-HF, DELIVER) ซึ่งแสดงผลลัพธ์ที่ชัดเจน 3 ประการข้างต้น โดยเฉพาะเติมเต็ม unmet need ทางการแพทย์ในการรักษา
HFmrEF และ HFpEF การประชุมวิชาการนี้จึงมุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวของประเทศไทย
ในป�จจุบัน ข้อมูลผลลัพธ์ของยา SGLT2i ในการลดอัตราการเสียชีวิต, ลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่
ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ตลอดจนแนวทางการรักษาในป�จจุบัน รวมถึงคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์ เพื่อเพิ่มพูน
ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่บุคลากรทางการแพทย์ต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่ออัพเดทข้อมูลยาในกลุ่ม SGLT21 และแนวทางการรักษา HF ในปัจจุบันและแลกเปลี่ยนประสบการณืแก่บุคลากรทางการแพทย์
คำสำคัญ
SGL T21
วิธีสมัครการประชุม
-