การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการการแพทย์บูรณาการ: การปวดเรื้อรังและนอนไม่หลับ (Pain management and Insomnia Medical Conference )
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการการแพทย์บูรณาการ: การปวดเรื้อรังและนอนไม่หลับ (Pain management and Insomnia Medical Conference )
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-037-08-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องเมจิก 3 ชั้น 2 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 14 -15 ก.ย. 2566
ผู้จัดการประชุม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป แพทย์แผนไทย บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 9.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับ สมาคมนวัตกรรมการแพทย์ผสมผสาน (INMA) ได้มีการส่ง
เสริมและสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์และนวัตกรรมการแพทย์ต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการค้นคว้า
การนำเสนอ และ แลกเปลี่ยนผลงานวิจัยด้านสุขภาพทางการแพทย์ ทั้งในประเทศไทยและระดับสากล โดยมุ่งหวังให้นำผล
งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และบริการด้านการแพทย์แบบผสมผสาน เป็นทางเลือกกับประชาชนที่
สอดคล้องกับแต่ละบุคคล โดยให้บุคคลากรและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องและสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
รวมถึงการจัดโครงการสัมมนานำเสนอประสบการณ์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ใน
การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการแพทย์ทางเลือกไปผสมผสานการให้บริการร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งการจัดสัมมนา
วิชาการในทุกครั้งที่ผ่านมาได้รับการตอบรับที่ดีทั้งจากบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป หากแต่ยังมีพื้นที่ในการพัฒนา
ให้เกิดความรู้ความเข้าใจและการผสมผสานศาสตร์ต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพที่แท้จริง
คณะกรรมการสมาคมนวัตกรรมการแพทย์ผสมผสาน ร่วมกับฝ่ายวิชาการ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือกจึงได้จัดโครงการประชุมวิชาการการแพทย์บูรณาการ เรื่องการปวดเรื้อรังและนอนไม่หลับ (Pain management
and Insomnia Medical Conference) ระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน 2566 ณ ห้องเมจิก 3 ชั้น 2 โรงแรมมิราเคิล
แกรนด์ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยของทั้งในระดับประเทศและ
ระดับสากล และร่วมมีประสบการณ์ตรงเชิงปฎิบัติด้านสุขภาพ เพื่อสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป

วัตถุประสงค์
สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ผลงานวิจัยด้านการแพทย์และสุขภาพเกี่ยวกับอาการการปวด
เรื้อรังและโรคนอนไม่หลับ (Pain management and Insomnia)
เปิดโลกทัศน์และปรับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับนิยามและมิติของสุขภาพที่แท้จริง รวมถึงส่งผลประโยชน์
ต่อสุขภาพ การรักษาและการแพทย์อย่างบูรณาการ
ให้เกิดองค์ความรู้ด้านการพัฒนารูปแบบการแพทย์ผสมผสานในการดูแลผู้ป่วย
คำสำคัญ