ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการเรื่อง 1st ASEAN Pharmacokinetics Boot Camp
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการเรื่อง 1st ASEAN Pharmacokinetics Boot Camp
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-034-12-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่จัดการประชุม 19 -21 ธ.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ประกอบการ และกลุ่มอุตสาหกรรมยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร นักวิจัย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 8 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
กระบวนการในการรักษาผู้ป่วยด้วยยานั้นตัวยาในตำรับยานั้นจะประกอบด้วยระบบ 4 ระบบ ซึ่งได้แก่ระบบทางเภสัชการ (pharmaceutical process) ซึ่งบอกถึงความคงตัวของตัวยาในตำรับยา คุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของยาในตำรับเพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยได้รับตัวยาสำคัญอยู่ในขณะที่ถูกต้อง หลังจากนั้นถ้าหวังผลของตัวยาในกระแสเลือด อยากจะเข้าสู่ความสามารถทางชีวะเภสัชการของตัวยา (biopharmaceutics) เพื่อให้ตัวอย่างเข้าสู่กระแสเลือด เร็วหรือช้า และมากหรือน้อย เพื่อนนำยาเข้าสู่ระบบเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics: PK process) เพื่อให้ตัวอย่างเข้าสู่จุดออกฤทธิ์ และสุดท้ายสุดจะถูกกำจัดทางร่างกาย ตัวยาที่เข้าสู่จุดออกฤทธิ์จะมีผลต่อกระบวนการเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamics: PD process) ซึ่งอาจจะเป็นผลโดยตรง (direct effect) หรือผลทางอ้อม (indirect effect) มีการเปลี่ยนแปลงจุดออกฤทธิ์ มีการเปลี่ยนแปลงดัชนีวัดทางชีวภาพ (biomarkers) ซึ่งถ้าการเปลี่ยนแปลงนี้ถึงในระดับที่แพทย์พอใจหรือผู้ป่วยดีขึ้นอาจมีในสำคัญและไม่เกิดพิษก็จะทำให้ไปถึงระบบสุดท้ายคือระบบในการรักษา (therapeutic system) ความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาตัวยาหรือตำรับยามใหม่ในประเทศไทยหรือประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ASEAN (ยกเว้นประเทศสิงคโปร์) พี่ยังไม่ประสบความสำเร็จนั้น คอขวดหนึ่งที่สำคัญคือการเข้าใจถึงระบบเภสัชจลศาสตร์อย่างถ่องแท้ การเข้าใจถึงระบบทางเภสัชนศาสตร์นั้นก็เพื่อหมุนกลไกการวิจัยและพัฒนาตัวยาใหม่ให้เกิดขึ้นได้จริง จะต้องมีการพัฒนาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนและเข้มแข็ง ทางผู้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ 1st ASEAN Pharmacokinetics Boot Camp ได้รับทราบว่าในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีบริษัทยาขนาดใหญ่จำนวนมากมีการวิจัยและพัฒนาตัวยามใหม่ครบวงจรมีการพัฒนาด้านนี้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง หนึ่งในกลยุทธ์ในการพัฒนาด้านนี้ในประเทศญี่ปุ่นคือการจัด pharmacokinetics boot camp ที่เป็นที่แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น เริ่มต้นจากการที่ Professor Yuichi Sugiyama ซึ่งเคยเป็น Professor และ คณบดีของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น อาจารย์เป็นผู้มีความเชี่ยววชาญในด้านเภสัชนศาสตร์เป็นที่รู้จักในระดับโลก ได้มีดำริในการจัด pharmacokinetics boot camp ในประเทศญี่ปุ่นมันนานมากกว่า 20 ปี ให้กับหน่วยงานของรัฐบาลและนักวิจัยด้านยาจากศูนย์วิจัยของบริษัทยาต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยได้พัฒนาหลักสูตรและสื่อการสอนทางด้านนี้หลังจากที่อาจารย์เกษียรจากมหาวิทยาลัยโตเกียว อาจารย์ยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทยาและรัฐบาลให้พัฒนาห้องปฏิบัติการที่ชื่อ Yuichi Sugiyama's Laboratory, RIKEN, RIKEN Innovation Center (RINC) และ ที่ RIKEN
ท่านได้สานต่องาน Pharmacokinetics Boot camp ได้มีการแปลสื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษและมีการจัดอบรม Pharmacokinetics Boot Camp ในระดับนานาชาติมาแล้วหลายครั้ง รวมถึงได้เคยมีการจัดในประเทศอื่นๆ เช่นที่ Seoul
National University, Seoul ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ปัจจุบันหลังจากที่อาจารย์เกษียรจาก RIKEN ท่านยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทญี่ปุ่นในการตั้ง Laboratory of quantitative system pharmacokinetics / pharmacodynamics ที่ Josai Interanational University, Tokyo, ประเทศญี่ปุ่นโดยมีตำแหน่งเป็น Distinguished professor และยังเป็น invited adjunct professor ที่ มหาวิทยาลัย ShanghaiTech University ในเมือง Shanghai ประเทศจีนอีกด้วย อาจารย์ได้เดินทางมาเป็นอาคันตุกะระยะสั้นที่คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วงเดือนธันวาคม 2565 ระหว่างท่านอยู่ที่ประเทศไทยได้มีการปรึกษาหารือกันกับหลายมหาวิทยาลัย และหลายหน่วยงาน เพื่อเป็นการส่งเสริม ecosystem ของการวิจัยพัฒนาญาณโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับปรีคลินิกและคลินิกของตัวยา ทุกหน่วยงานเห็นด้วยอย่างยิ่งและให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเจ้าภาพในการจัด boot camp โดยจะมีการจัด Pharmacokinetics Boot Camp ในระดับ ASEAN และรวมถึงประเทศในเอเชียที่สนใจด้วย โดยจะมีการนำเอาสื่อการสอนทั้งหมดที่เป็นภาษาอังกฤษมาใช้ในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ จะมีการอบรมล่วงหน้า online/onsite ให้แกะติวเตอร์ชาวไทยและชาวต่างชาติ เพื่อเตรียมเข้าใจถึงการจัด boot camp และเนื้อหาโดยติวเตอร์จะมีส่วนร่วมในการช่วยอบรมผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดประชุมจะจัดที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระหว่างวันที่ 19-21 ธันวาคม 2566 โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้จะมีการบรรยายและตามด้วยการทำแบบฝึกหัดที่นำมาใช้ทำความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับเภสัชจลศาสตร์ในการวิจัยพัฒนายา
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการถ่ายทอดความรู้ด้านนี้ให้ทางแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ที่รักษาดูแลผู้ป่วย ผู้สนใจในการวิจัยพัฒนารูปแบบของยารวมถึงยามใหม่และผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร กลุ่มอุตสาหกรรม หน่วยงานกำกับดูแลด้านยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร วัตถุเสพติด อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สนใจ ส่วนราชการและเอกชนที่สนใจทั้งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศในแถบ ASEAN และเอเชียและเพื่อสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนความรู้ การวิจัยด้านนี้ใน ASEAN และ เอเชีย วิทยากรในการอบรมครั้งนี้เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านนี้จากประเทศไทยและต่างประเทศ
วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถรู้ถึงพื้นฐานทางด้านเภสัชจลศาสตร์ที่นำมาใช้ในการวิจัยพัฒนายาและสามารถประยุกต์องค์ความรู้ในการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งได้
แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกันทั้งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศใน ASEAN และ เอเชีย
2. เพื่อผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจถึง clearance concept ประกอบกับเภสัชจลศาสตร์บนฐานสรีรวิทยา (physiologically-based pharmacokinetics (PBPK) model)
เพื่อนำมาช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการพยากรณ์การมีอันตรกิริยาระหว่างยา รวมถึงผลของเภสัชพันธุศาสตร์ต่อเภสัชจลน์ศาสตร์ของยา
3. เพื่อผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจถึงการพยากรณ์เภสัชนศาสตร์ในสิ่งมีชีวิต (in vivo) ที่สามารถคาดการณ์ได้จากข้อมูลในหลอดทดลอง (in vitro) เพื่อนำมาใช้ในการ
วิจัยพัฒนายา
4. เพื่อให้ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรม ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร วัตถุเสพติด เข้าใจถึงความจำเป็นและการประยุกต์ใช้หลักการทางด้านเภสัชนศาสตร์ เพื่อนำไป
ประยุกต์ใช้ในการประเมินผลิตภัณฑ์ก่อนการพัฒนา เพื่อเพิ่มโอกาสในความสำเร็จและลดต้นทุนในการวิจัยพัฒนาโดยเรียนรู้จากปัญหาจริงในรูปแบบกรณีศึกษา
โดยทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและลงทะเบียน สมัครพร้อมชำระเงินค่าลงทะเบียน โดยโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี เลขที่บัญชี 026-443603-5 ชื่อบัญชี Academic Conference, Faculty of Pharmacy, Mahidol University โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนลงในระบบลงทะเบียนเพื่อการตรวจสอบ ค่าลงทะเบียน อัตราค่าลงทะเบียน บุคคลทั่วไป คนไทย (ภายใน 30 พฤศจิกายน 2566) ท่านละ 3,000 บาท บุคคลทั่วไป ชาวต่างชาติ (ภายใน 30 พฤศจิกายน 2566) ท่านละ 90 USD นักศึกษา คนไทย (ภายใน 30 พฤศจิกายน 2566) ท่านละ 2,000 บาท นักศึกษาชาวต่างชาติ (ภายใน 30 พฤศจิกายน 2566) ท่านละ 60 USD ค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมได้โดยไม่ถือเป็นวันลาเมื่อได้รับอนุมัติจาก ผู้บังคับบัญชาแล้วและมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.6/ ว 95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน