ชื่อการประชุม |
 |
(online) Life Science containment |
สถาบันหลัก |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
 |
2004-2-000-013-08-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ZOOM Application |
วันที่จัดการประชุม |
 |
29 ส.ค. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
บุคลากรที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานใน ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายผลิต ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวิศวกรรม และผู้สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
1.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ โรงงานผลิตยา และโรงพยาบาลที่เกี่ยวกับสารพิษ และสารชีวภาพ ต้องมีกระบวนการลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนสารเหล่านี้ต่อผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม มีมาตรการควบคุมกักกัน ไม่ให้สารเหล่านี้แพร่กระจายออกภายนอก โดยปฏิบัติงานภายในตู้ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety cabinet) หรือห้องที่มีความดันต่ำกว่าภายนอก และผู้ปฏิบัติงานต้องสวมชุด PPE (Personal protective device) และที่สำคัญกว่านั้น ต้องมีการบำบัดอากาศที่ปนเปื้อนสารชีวภาพก่อนปล่อยออกภายนอกโดยใช้ตู้ระบายอากาศ (Exhaust Housing Containment) ที่มีการติดตั้งแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (HEPA filter) ตู้ระบายอากาศจะถูกออกแบบให้มีการเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศแบบ Safe change Bag, Bag in – Bag out โดยไม่สัมผัสกับแผ่นกรองอากาศที่ปนเปื้อน และลดการฟุ้งกระจายในอากาศ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ดูแลรักษาตู้ระบายอากาศและปกป้องสิ่งแวดล้ออม
วัตถุประสงค์
- เพื่อเรียนรู้และเข้าใจถึงความสำคัญ ของการใช้ตู้ระบายอากาศทางชีวภาพ (Exhaust Housing Containment)
- เพื่อเรียนรู้วิธีการใช้งาน การติดตั้งแผ่นกรองอากาศ รวมไปถึงอุปกรณ์ สำคัญที่ใช้ เกี่ยวกับตู้ระบายอากาศที่มีถุงสำหรับเปลี่ยนและใส่แผ่นกรอง (Bag in - Bag out)
- เพื่อเรียนรู้วิธีการบำรุงรักษา ระยะเวลาการเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ รวมไปถึงวิธีการตรวจสอบประสิทธิภาพของแผ่นกรอง ตั้งแต่ติดตั้ง ก่อนและหลังการใช้งาน
คำสำคัญ
containment, biosafety cabinet, PPE, HEPA filter. Bag in - Bag out
วิธีสมัครการประชุม
วิทยากร : ภณิดา ผลนิมิตร ผู้จัดการส่วนภูมิภาค บริษัท แคมฟิล ประเทศไทย จำกัด
เภสัชกรที่เข้าร่วมอบรมและผ่านการทดสอบจะได้ 1.5 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง