ชื่อการประชุม |
 |
โครงการพัฒนาบริการการรักษา OPAT เครือข่ายศูนย์ประกันสุขภาพโรงพยาบาล |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
รหัสกิจกรรม |
 |
1015-2-000-013-08-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ณ ห้องประชุมฝ่ายยาและเวชภัณฑ์ ชั้น 9 อาคารศรีสวรินทิรานุสรณ์ ๑๕๐ ปี |
วันที่จัดการประชุม |
 |
11 -18 ส.ค. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรในฝ่ายยาและเวชภัณฑ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทยโดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาลและควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ซึ่งการใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมนี้หมายรวมถึง ชนิดยา ขนาดยา วิธีการบริหารยา และระยะเวลาการให้ยา การให้ยาต้านจุลชีพจนครบระยะเวลาการให้ยา ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ซึ่งระยะเวลาการรักษามีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของโรคติดเชื้อ ส่วนใหญ่มีระยะเวลารักษาประมาณ 5-7 วัน ไปจนถึงการติดเชื้อที่ต้องได้รับการรักษาเป็นเวลานาน เช่น การติดเชื้อที่กระดูกและข้อ การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจที่จำเป็นต้องใช้ยานานตั้งแต่ 4 สัปดาห์ ขึ้นไป ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล เพื่อรับยาต้านจุลชีพให้ครบตามระยะเวลาการรักษา จึงมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งมักมีปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยาหลายขนาน (multi-drug resistance; MDR) จากประเด็นข้างต้นสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Infectious Diseases Society of America; IDSA) ได้จัดทา แนวทางการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพชนิดฉีดแบบผู้ป่วยนอก (Outpatient parenteral antimicrobial therapy; OPAT) หมายถึง การรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านจุลชีพชนิดฉีดโดยผู้ป่วยไม่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทำการจำหน่ายผู้ป่วยเพื่อรับยาต้านจุลชีพชนิดฉีดอย่างต่อเนื่อง ณ คลินิกที่จัดตั้งขึ้นทั้งใน และนอกโรงพยาบาล การบริหารยาต้านจุลชีพชนิดฉีด ณ คลินิกที่จัดตั้งขึ้น จักต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ การรับผู้ป่วยเพื่อการรักษา ยาต้านจุลชีพที่ใช้วิธีบริหารยา อุปกรณ์บริหารยา และ การติดตามอาการทางคลินิก รวมถึงผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยา ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และแพทย์สั่งยาต้านจุลชีพชนิดฉีดในวันที่ผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยนำยาต้านจุลชีพชนิดฉีดกลับไปบริหารยาที่ฝ่ายผู้ป่วยนอกหรือสถานพยาบาลใกล้บ้านของผู้ปวย ที่ผ่านมาในโรงพยาบาลยังไม่มีรูปแบบการดำเนินงาน OPAT ที่ชัดเจน ดังนั้นเพื่อพัฒนาบริการการรักษา OPAT เครือข่ายศูนย์ประกันสุขภาพโรงพยาบาล จึงขออนุมัติจดกิจกรรมการให้ความรู้ครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้พยาบาลและเภสัชกรได้รับความรู้พื้นฐานด้านยาที่จำเป็นในการปฏิบัติงานการให้ยาต้านจุลชีพรูปแบบยาฉีดในผู้ป่วยนอก การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการพัฒนา คุณภาพอย่างต่อเนื่องของการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มีข้อจำกัดของเภสัชกรในฝ่ายยาและเวชภัณฑ์ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา ไม่สามารถปิดห้องบริการจ่ายยาห้องใดห้องหนึ่ง ดังนั้นจึงขอจัดการบรรยายในรูปแบบ Lunch symposium และแบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 2 ครั้ง เพื่อให้เภสัชกรในฝ่ายยาและเวชภัณฑ์สามารถเข้าร่วมฟังการบรรยายได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรได้รับความรู้ที่จำเป็นในการให้ยาต้านจุลชีพรูปแบบยาฉีดในผู้ป่วยนอก (OPAT)
2. เพื่อพัฒนาความรู้สู่การปฏิบัติการให้ยาต้านจุลชีพรูปแบบยาฉีดในผู้ป่วยนอก (OPAT)
คำสำคัญ
Outpatient parenteral antimicrobial therapy, OPAT