การประชุมวิชาการ
โครงการศูนย์วิจัยทางคลินิกแห่งชาติ (ACRO KKU) หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ประกาศนียบัตรเภสัชกรวิจัยคลินิก รอบที่ 1 (สิงหาคม - พฤศจิกายน 2566)
ชื่อการประชุม โครงการศูนย์วิจัยทางคลินิกแห่งชาติ (ACRO KKU) หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ประกาศนียบัตรเภสัชกรวิจัยคลินิก รอบที่ 1 (สิงหาคม - พฤศจิกายน 2566)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-038-08-2566
สถานที่จัดการประชุม คณะแพทยศาสตร์ สถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก (ACRO KKU)
วันที่จัดการประชุม 27 ก.ค. 2566 - 31 ธ.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรประจำศูนย์วิจัย เภสัชกรผู้สนใจงานด้านวิจัยคลินิก
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การวิจัยทางคลินิกเป็นการวิจัยทีทดสอบในคน เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยและ ประสิทธิภาพ ของยา หรืออุปกรณ์ หรือวัคจีนที่คิดค้นขึ้นมาใหม่นั้นสามารถรักษาโรคได้ตามวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้ หรีอมีความปลอดภัยมากเพียงพอสำหรับการขึ้นทะเบยนเพื่อการจำหน่าย โดยผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด รูปแบบการทดลอง รวมทั้งคัดเลือกอาสาสมัครตามวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อเข้ากระบวนการทดสอบตามที่ กำหนดไว้โดยมีการติดตามดูผลลัพธ์อย่างใกล้ซีดการดำเนินงานทำภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยและการ ดำเนินการวิจัยที่ดี อย่างไรก็ตามนักวิจัยไม่สามารถดำเนินการทุกขึ้นตอนการทำวิจัยได้โดยลำพังมีความ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีบุคคลกรผู้สนับสนุนคุณสมบัติเหมาะสมเพียงพอในการช่วยดำเนินการวิจัย ปัจจุบันมี หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนร่วมในการวิจัยทางคลินิกซึ่งจะเห็นไต้ว่าหน่วยงานสนับสนุนการวิจัย คลินิกเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์
1) เภสัชกรมีความรู้ ความเช้าใจในเรื่อง Ethics in human research, study start up, Investigational Product Management, ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง, ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ โครงการวัคซีน, งานบริการหอผู้ป่วยวิจัย และการควบคุมคุณภาพ (Quality control in Clinical trial) และนำหลักการไปประยุกต่ใช้ในการวางแผน และปฏิบัติงาน
2) เภสัชกรมีความรู้ ความเช้าใจกระบวนการต่างๆของ clinical trial ในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ศูนย์วิจัย
3) เภสัชกรสามารถเตรียมความพร้อม สื่อสารกับผู้ประสารงานวิจัยทางคลินิกได้อย่างเหมาะสม ลด ความคลาดเคลื่อน มีคุณภาพ
4) เภสัชกรได้แลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน การจัดการงานวิจัยคลินิก เพื่อนำไป ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพงานตามบริบทของแต่ละศูนย์วิจัย
5) เภสัชกรมีความรู้ ความเช้าใจเกี่ยวกับงานวิจัยทางคลินิกที่พบได้บ่อย เช่น งานวิจัยโรคมะเร็ง และ งานวิจัยโครงการวัคซีน ซึ่งมีกระบวนการทำงานแตกต่างกัน
6) ส่งเสริมให้มีเภสัชกรผู้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการยาวิจัยอยู่ในศูนย์วิจัยคลินิก
คำสำคัญ
การวิจัยทางคลินิก, อบรมระยะสั้น
วิธีสมัครการประชุม
https://acrokku.com/