การประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacotherapy in Infectious Diseases ครั้งที่ 12 Pharmaceutical care in infectious disease: Updated knowledge after COVID-19 Era
ชื่อการประชุม |
 |
การประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacotherapy in Infectious Diseases ครั้งที่ 12 Pharmaceutical care in infectious disease: Updated knowledge after COVID-19 Era |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
 |
1001-2-000-030-07-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
รูปแบบการประชุมออนไลน์ ผ่านทางโปรแกรม Zoom คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
วันที่จัดการประชุม |
 |
18 -19 พ.ย. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจทั่วไป นิสิตบัณฑิตศึกษา และคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
12 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
โรคติดเชื้อเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ พบได้บ่อยในทุกกลุ่มผู้ป่วย และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกระบบของร่างกาย มีระดับความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงแก่ชีวิตได้ ประกอบกับปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยาที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน การรักษาโรคติดเชื้อที่สำคัญส่วนใหญ่ต้องอาศัยยาต้านจุลชีพ การพิจารณาเลือกใช้ยาต้านจุลชีพได้อย่างสมเหตุผล ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในระบบต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมและกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม จะส่งผลให้ลดปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยา ลดระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการรักษาพยาบาล รวมทั้งลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ การมีเภสัชกรเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมสหสาขาวิชาชีพในการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ จะช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล และช่วยลดปัญหาดังกล่าวลงได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามการที่เภสัชกรจะปฏิบัติงานดังกล่าวให้เกิดผลสัมฤทธิ์นั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนร่วมกัน องค์ประกอบส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ องค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ คุณสมบัติของยาต้านจุลชีพชนิดต่าง ๆ ความก้าวหน้าทางการแพทย์สมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้ยาบำบัดรักษาโรคติดเชื้อในยุคของเชื้อดื้อยาอย่างสมเหตุผล รวมทั้งแนวทางการปรับใช้ยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อในสภาวะต่าง ๆ นอกจากนี้ภายหลังจากยุคการระบาดโควิด 19 อาจส่งผลให้แนวทางการวินิจฉัยและรักษาทั้งในส่วนของการติดเชื้อโควิด 19 และโรคติดเชื้ออื่นๆมีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ ฝ่ายวิชาการ และหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดการประชุมวิชาการเรื่อง Pharmacotherapy in Infectious Diseases ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด Pharmaceutical care in infectious disease: Updated knowledge after COVID-19 Era ขึ้น เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้ความเข้าใจที่ทันสมัยเกี่ยวกับแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อในระบบต่างๆ ที่พบบ่อยในยุคที่ประสบปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยาและหลังจากยุคการระบาดการติดเชื้อโควิด 19 การดำเนินกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมและกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม รวมถึงการพิจารณาเลือกใช้ยาต้านจุลชีพในการบำบัดรักษาแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้อย่างสมเหตุผล ทันท่วงที และปลอดภัย ทำให้ผู้ป่วยประชาชนชาวไทยมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อด้วยยาในระบบต่าง ๆ อย่างสมเหตุผล
2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อโควิด 19 และการฉีดวัคซีนป้องกันภายหลังการระบาดการติดเชื้อโควิด-19
3. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาโรคติดเชื้อ
4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283 โทรสาร 02-251-5086 หรือ
e-mail: ce@pharm.chula.ac.th โดยมีอัตราค่าลงทะเบียนดังนี้
-ชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ท่านละ 1,200 บาท
-ชำระค่าลงทะเบียนหลังวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ท่านละ 1,500 บาท