การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการกลุ่มเภสัชกรนครราชสีมา หัวข้อที่ 1 เรื่อง “STOP Pain When It starts” หัวข้อที่ 2 เรื่อง “ท้องผูกแก้ให้ถูก”
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการกลุ่มเภสัชกรนครราชสีมา หัวข้อที่ 1 เรื่อง “STOP Pain When It starts” หัวข้อที่ 2 เรื่อง “ท้องผูกแก้ให้ถูก”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รหัสกิจกรรม 1013-2-000-004-07-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมแคนทารี่ จังหวัด นครราชสีมา
วันที่จัดการประชุม 14 ก.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรในจังหวัดนครราชสีมา 100 ท่าน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล หัวข้อที่ 1 เรื่อง “STOP Pain When It starts”

อาการปวดเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย และใกล้ตัว ดังนั้นการรักษาอาการปวดจะต้องพิจารณาอาการอื่นที่อาจเกิดขึ้นประกอบด้วย เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดที่ผิดปกตินั้นว่าเกิดจากอะไร โดยแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจทางรังสีเพิ่มเติม ก่อนวางแผนการรักษาร่วมกับการใช้ยาแก้ปวด อนึ่งยาแก้ปวดชนิดไม่เสพติดเป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ระงับปวดต่ำ จึงใช้บรรเทาอาการปวดที่รุนแรงน้อยจนถึงรุนแรงปานกลาง และยาเหล่านี้มีฤทธิ์ลดไข้ จึงมักใช้กับอาการปวดที่มีไข้ร่วมด้วย เช่น อาการปวดศีรษะจากไข้หวัด ได้แก่ ยาพาราเซตามอล นอกจากนี้ยังมีประเภทที่แก้ปวดลดไข้และต้านการอักเสบด้วยชนิด NSAIDs (เอ็นเสด) ที่มีประโยชน์ทางการแพทย์มาก ที่นอกเหนือจากการใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดอาการอักเสบในโรคข้ออักเสบต่าง ๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อกระดูกเสื่อม ข้อกระดูกสันหลังอักเสบ ข้ออักเสบในโรคเกาต์ แล้วยังใช้กับการอักเสบกรณีอื่น เช่น เอ็นอักเสบ การอักเสบของเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มหัวใจ ยาบางชนิดนำมาใช้บรรเทาอาการปวดเฉียบพลันในกรณี ปวดประจำเดือน ปวดภายหลังการถอนฟัน ปวดบาดแผลผ่าตัด นอกจากนี้ยาในกลุ่มนี้หลายชนิดมีฤทธิ์ลดไข้ด้วย ยาที่นำมาใช้ลดไข้ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน อย่างไรก็ตาม NSAIDs (เอ็นเสด) มีผลไม่พึงประสงค์มากตลอดจนมียาอื่นที่ให้ผลดีในการลดไข้ จึงไม่ใช้ยาในกลุ่มนี้เพื่อการลดไข้ทั่วไป ยาประเภทนี้ไม่ทำให้เกิดการติดยา ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อตามร้านขายยาทั่วไป ดังนั้นผู้ประกอบการร้านขายยาจึงความจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นในแง่มุมต่างๆได้แก่ ระบุปัญหาที่พบบ่อยของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดชนิดต่างๆ และแนวทางการใช้ยาที่เหมาะสม ที่เข้ารับการปรึกษาเบื้องต้นที่ร้ายขายยาและสถานพยาบาลระดับต้นได้, มีความเข้าใจเรื่องการเกิดโรคที่มีภาวะแทรกซ้อน มีความเข้าใจถึงสัญญาณอันตราย ต่าง ๆที่มีความจำเป็นต้องส่งต่อถึงแพทย์ และให้การดูแลรักษาเบื้องต้นผู้ป่วยที่มีปัญหาที่พบบ่อยของผู้ป่วย และให้คำแนะนำในการปฎิบัติตัวเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่เหมาะสมได้

หลักการและเหตุผล หัวข้อที่ 2 เรื่อง “ท้องผูกแก้ให้ถูก”
โรคทางเดินอาหารเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคที่พบได้บ่อยในร้านขายยา รวมถึงภาวะท้องผูกที่มักจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยและมีโอกาสที่จะเกิดอาการเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาและการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยอาการดังกล่าวควรได้รับการประเมินอาการและการรักษาที่ถูกต้อง ร่วมกับความรู้ความเข้าใจในการปรับพฤติกรรมเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน มีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการและสาเหตุของภาวะท้องเสีย การประเมินอาการและการซักประวัติข้อมูลที่จำเป็นต่อการรักษาแนวทางการรักษาและบทบาทของยาระบายต่อภาวะท้องผูก การเลือกใช้ยาระบายอย่างเหมาะสมรวมถึงคำแนะนำในการปรับพฤติกรรม เพื่อประโยชน์สูงสุดและการรักษามาตรฐานที่ดีในการให้บริบาลเภสัชกรรมในร้านขายยา
วัตถุประสงค์
1. ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึงการดูแลรักษาเบื้องต้นและการคำแนะนำในการปฎิบัติตัวเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่เหมาะสมได้
2. ได้ทราบถึงการเลือกใช้ยา ที่เหมาะสมและสมเหตุสมผลได้
3. มีความเข้าใจถึงอันตราย จากการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม
คำสำคัญ