โครงการประชุมวิชาการ Advance Psychopharmacology and Psychopharmacotherapy in Psychiatric Disorders ประจําปี 2566
ชื่อการประชุม |
 |
โครงการประชุมวิชาการ Advance Psychopharmacology and Psychopharmacotherapy in Psychiatric Disorders ประจําปี 2566 |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม |
รหัสกิจกรรม |
 |
1014-2-000-011-06-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา |
วันที่จัดการประชุม |
 |
28 มิ.ย. 2566 - 30 ก.ค. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
ชมรมเภสัชกรจิตเวช |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
กลุ่มเป้าหมายรวมไม่เกิน 40 คน ได้แก่ 1. เภสัชกรในกรมสุขภาพจิต 2. เภสัชกรนอกกรมสุขภาพจิต 3. วิทยากรและคณะทำงาน จำนวน 5 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
16.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคทางจิตเวชเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยโรคทางจิตเวชหลายชนิดส่งผลให้
เกิดภาวะทุพลภาพ และกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยอย่างมาก โรคทางจิตเวชส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นโรคเรื้อรัง จึงต้องใช้ยารักษาในระยะยาว การใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (psychotropic drugs) มีความซับซ้อนทั้งด้านเภสัชวิทยาและการนำไปใช้ในทางคลินิก ในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมานี้ วงการการศึกษาและการวิจัยมีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านยาและการรักษาทางจิตเวชแผ่ขยายไปในหลายสาขาย่อยมากขึ้น และมีแนวทางในการเลือกใช้ยา โดยอาศัยปัจเจกบุคคลมากขึ้น เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้ตอบสนองต่อยา หรือความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยานานับประการ ภาวะการเกิดอันตรกิริยาของยาที่สำคัญที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ภาวะที่ผู้ป่วยมีปัจจัยประกอบต่างๆอันจะนำไปสู่การดื้อต่อการรักษาด้วยยาของโรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว รวมถึงปัจจัยหรือปัญหาด้านสารเสพติดร่วมซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางตรงและทางอ้อม
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทหน้าที่เภสัชกรโดยเฉพาะเภสัชกรของกรมสุขภาพจิต อัน
เป็นสถานพยาบาลตติยภูมิซึ่งมีภารกิจหลักในการดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยกลุ่มนี้ และควรเป็นผู้มีองค์ความรู้ที่ลึกซึ้งด้านยาตั้งแต่ระดับโมเลกุลที่ออกฤทธิ์ต่อสมองจนถึงผลลัพธ์ในการรักษา กลุ่มงานเภสัชกรรมสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จึงได้จัดทำโครงการประชุมวิชาการด้านการใช้ยาในโรคทางจิตเวช โดยเน้นข้อมูลในเชิงลึกทั้งด้านของเภสัชวิทยาและหลักฐานทางวิชาการ เพื่อให้เภสัชกรที่มีความรู้พื้นฐานของยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอยู่เดิมได้เพิ่มพูนความรู้ และต่อยอดในการประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยจิตเวชแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ด้านการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในเชิงลึกสำหรับการรักษา
โรคทางจิตเวช และ ประสาทจิตเวชศาสตร์
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้และสามารถนำมาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านยาที่เกิดกับผู้ป่วย
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนผ่าน QR code
- ภายในวันที่ 22 พ.ค. 2566 ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท
- ตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. 2566 เป็นต้นไป ค่าลงทะเบียน 2,500 บาท