ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ประกอบการร้านยาการพัฒนามาตรฐานร้านยา จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อการประชุม ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ประกอบการร้านยาการพัฒนามาตรฐานร้านยา จังหวัดศรีสะเกษ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-025-06-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
วันที่จัดการประชุม 07 มิ.ย. 2566
ผู้จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับอนุญาตขายยา/ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ และผู้รับผิดชอบงานร้านยาที่เกี่ยวข้อง จํานวน 150 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (Good Pharmacy Practice; GPP) เป็นการปรับเปลี่ยนครั้ง สําคัญในร้านขายยา โดยเป็นการนํา “ระบบคุณภาพ” มาใช้เพื่อกํากับ “คุณภาพ” ของร้านขายยา โดยมีแนวคิด สําคัญในเรื่อง การจัดการความเสี่ยง (Risk management) และการบริหารงานต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพของ การให้บริการ มุ่งให้เกิดความปลอดภัยด้านยาแก่ผู้มารับบริการ เป็นการสร้างการยอมรับ และความเชื่อมั่นให้แก่ ผู้มารับบริการไม่ว่าจะเป็นการได้รับยาที่ “ถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี ถูกเวลา” จากเภสัชกร หรือผู้มีหน้าที่ ปฏิบัติการในร้านยา ผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการให้บริการด้านยาและข้อมูลสุขภาพ ซึ่งหาก ร้านยาสามารถดําเนินการตามเกณฑ์ GPP ได้ดี จะช่วยลดความเสี่ยงด้านยาต่างๆที่เกิดจากร้านยาต่อประชาชน ผู้รับบริการ ลดการกระทําผิดกฎหมายของร้านขายยาไปในเวลาเดียวกัน และลดปัญหาการกระจายยาที่ไม่ เหมาะสมในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ร้านยามีการดําเนินการตามแนวทาง RDU Province รวมทั้งส่งเสริมพัฒนา ร้านยาเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการร้านยาชุมชนอบอุ่นรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความ แออัดในโรงพยาบาล โครงการร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิด โครงการบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในร้านยา โครงการบริการเภสัชกรรมปฐมภูมิ เป็นต้น
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข จึงจัดทําโครงการพัฒนาร้านยาคุณภาพและผลิตภัณฑ์
ยา จังหวัดศรีสะเกษ ขึ้นเพื่อพัฒนามาตรฐานร้านยาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม (GPP) รวมทั้งเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์ยา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนามาตรฐานร้านยาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม (GPP)
2. เพื่อพัฒนาร้านยาให้มีการดําเนินการตามแนวทาง RDU Province
3. เพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ยากลุ่มเสี่ยงที่วางจําหน่ายในร้านยา
คำสำคัญ
Good Pharmacy Practice; GPP